วันเสาร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2554

กุ้งก้ามกราม

                               
กุ้งก้ามกราม (Macrobrachium rosenbergii de man)   เป็นกุ้งน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด โดย เฉพาะเพศผู้มีคุณค่าทางเศรษฐกิจสูง เนื่องจากมีความต้องการของตลาด ทั้งใน และต่างประเทศจำหน่าย ได้ในราคาสูง  ในปี 2545 มูลค่าของผลผลิตมากกว่า 4,000 ล้านบาท ปัจจุบันประเทศไทยมีประชากรมากขึ้นความต้องการพื้นที่เพื่ออยู่อาศัยและกิจกรรมต่างๆจึงมีความจำเป็นมากขึ้นเป็นเงาตามตัว พื้นที่สำหรับเลี้ยงสัตว์น้ำจึงขยายตัวได้ยากและมีแนวโน้มลดลงตลอด การเลี้ยงกุ้งก้ามกรามของเกษตรกรไทยนิยมเลี้ยงในบ่อดินขนาด 3-9 ไร่ เนื่องจากกุ้งก้ามกรามมีพฤติกรรมหวงถิ่น ด้วยเหตุนี้จึงต้องใช้พื้นที่ดินและน้ำในปริมาณมากทำให้มีค่าใช้จ่ายสูง ในขณะ เดียวกันยังพบปัญหากุ้งที่เลี้ยงโตไม่เท่ากัน กุ้งกินกันเอง และกุ้งเป็นโรค กุ้งที่เลี้ยงได้มีขนาดเล็ก ผลผลิตกุ้งก้ามกรามในบ่อดินประมาณไร่ละ 300-400 กิโลกรัมต่อปี แบ่งเป็นขนาด 40-50 ตัวต่อกิโลกรัม ประมาณ 35 เปอร์เซ็นต์ ขนาด 20-30 ตัวต่อกิโลกรัม ประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ และขนาด 10-15 ตัวต่อกิโลกรัม ประมาณ 15 เปอร์เซนต์การเลี้ยงในบ่อดินใช้เวลานานขึ้นเท่าใด ยิ่งทำให้พื้น บ่อมีการสะสม ของเสียมากขึ้นก่อให้เกิดการเน่าเสียของพื้นบ่อ และปัญหาที่สำคัญก็ คือ เกษตรกรยังไม่สามารถเลี้ยงให้กุ้งก้ามกรามให้มีขนาดใหญ่คือขนาดตัวละ 200-300 กรัม (ขนาด 3-5 ตัว/กิโลกรัม) ซึ่งมีราคาสูงกว่ากุ้งขนาดเล็กถึง 5-6 เท่า กุ้งขนาดใหญ่นี้มักเรียกว่ากุ้งแม่น้ำเนื่องจากมีขนาดใหญ่น่ารับประทาน ราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 400-800 บาท  ปัจจุบันผลผลิตกุ้งก้ามกราม ที่จับได้จากธรรมชาติมีไม่มากและขนาดใหญ่ก็มีน้อยลงมากผลผลิตกุ้งก้ามกรามของไทย 70 เปอร์เซนต์ บริโภคภายในประเทศและส่งออกประมาณ 30 เปอร์เซนต์ จากข้อมูลการส่งออกกุ้งก้ามกรามแช่แข็งในปี พ.ศ. 2542 มีการส่งออกทั้งสิ้น 1,027 ตัน และ เพิ่มขึ้นเป็น 2,964 ตัน ในปี พ.ศ. 2543 ประเทศผู้ซื้อได้แก่ ประเทศกลุ่มสหภาพยุโรปซึ่งมีมาตรการเข้มงวดในการตรวจสารตกค้างในกุ้งที่นำเข้า และล่าสุดประเทศผู้ซื้อตรวจพบสารตกค้าง nitro furans (metabolites) ในสินค้ากุ้งก้ามกรามจากประเทศไทย ปัญหาเหล่านี้ก่อให้เกิดอุปสรรคต่อการขยายตลาดการส่งออกกุ้งก้ามกรามของไทยรายงานของ องค์การการค้าโลก (WTO) ระบุว่าเมื่อ ปี พ.ศ. 2543 ตลาดผลผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ของโลกมีมูลค่ามากถึง 8 แสนล้านบาทและมีอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ ตลาดใหญ่สุดอยู่ที่ประเทศยุโรป ปีละ 250,000 ล้านบาท รองลงมาสหรัฐอเมริกาปีละ 200,000 ล้านบาท และญี่ปุ่นประมาณปีละ 45,000 ล้านบาท มีแนวโน้มการขยายตัวอย่างต่อเนื่องในอนาคตเนื่องจาก ผู้บริโภคเริ่มหันมาใส่ใจต่อสุขภาพของตนเองมากยิ่งขึ้นศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดชัยนาท จึงเริ่มดำเนินการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตกุ้งก้ามกรามให้ได้ขนาดใหญ่เพื่อการบริโภคภายในประเทศและการส่งออก ตั้งแต่ปี 2543 จนถึงปัจจุบัน เพื่อเพิ่มศักยภาพให้ได้ผลผลิตกุ้งก้ามกรามขนาดใหญ่ประมาณ 200-300 กรัม/ตัว (หรือ 3-5 ตัว/กิโลกรัม) โดยเน้นคุณภาพกุ้งปลอดสารหรือกุ้งอินทรีย์ (GAP) พร้อมกับการพัฒนาระบบการเลี้ยงแบบชีวภาพตามแนวทาง Code of Conduct (CoC) เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค และเป็นการเลี้ยงที่ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโครงการหนึ่งที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดชัยนาท กำลังวิจัยและพัฒนาเพื่อปรับปรุงคุณ ภาพกุ้งก้ามกรามขนาดใหญ่และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย คือ โครงการเลี้ยงกุ้งก้าม กรามแบบแยกเลี้ยงเดียวระบบน้ำหมุนเวียน (กุ้งคอนโด) โดยศึกษาวิจัยและพัฒนาโครงการดังกล่าว ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดชัยนาท สำนักวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด กรมประมง

ปูม้า

          ปูม้า (อังกฤษ: flower crab, blue crab, blue swimmer crab, blue manna crab, sand crab, ชื่อวิทยาศาสตร์: Portunus pelagicus) จัดเป็นปูที่อาศัยอยู่ในทะเลชนิดหนึ่ง ที่อยู่ในสกุล Portunus ซึ่งพบทั้งหมด 90 ชนิดทั่วโลก และพบในน่านน้ำไทยราว 19 ชนิด
         ลักษณะทั่วไปแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ ส่วนตัว, อก และท้อง ส่วนหัวและอกจะอยู่ติดกัน มีกระดองหุ้มอยู่ตอนบน ทางด้านข้างทั้งสองของกระดองจะเป็นรอยหยักคล้ายฟันเลื่อยเป็นหนามแหลมข้างละ 9 อัน ขามีทั้งหมด 5 คู่ด้วยกัน คู่แรกเปลี่ยนแปลงไปเป็นก้ามใหญ่เพื่อใช้ป้องกันตัวและจับอาหาร ขาคู่ที่ 2, 3 และ 4 จะมีขนาดเล็กปลายแหลมใช้เป็นขาเดิน ขาคู่สุดท้ายตอนปลายมีลักษณะเป็นใบพายใช้ในการว่ายน้ำ ขนาดกระดองสามารถโตเต็มที่ได้ราว 15-20 เซนติเมตร
          ปูม้าตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะแตกต่างกันที่จับปิ้งและสี ตัวผู้มีก้ามยาวเรียวกว่า มีสีฟ้าอ่อนและมีจุดขาวตกกระทั่วไปบนกระดองและก้าม พื้นท้องเป็นสีขาว จับปิ้งเป็นรูปสามเหลี่ยมเรียวสูง ตัวเมียจะมีก้ามสั้นกว่ากระดองและก้ามมีสีฟ้าอมน้ำตาลอ่อนและมีจุดขาวประทั่วไปทั้งกระดองและก้าม เมื่อถึงฤดูกาลวางไข่ ปูม้าตัวเมียจะมีไข่ติดอยู่บริเวณระยางค์ซึ่งเคยเป็นขาว่ายน้ำในระยะวัยอ่อน โดยในระยะแรกไข่จะอยู่ภายในกระดองต่อมากระดองทางหน้าท้องเปิดออกมาทำให้สามารถเห็นไข่ชัดเจน จึงมักเรียกปูม้าในระยะนี้ว่าปูม้าที่มีไข่นอกกระดอง ไข่นอกกระดองนี้ในขณะที่เจริญแบ่งเซลล์อยู่ภายในเปลือกไข่ สีของไข่จะค่อย ๆ เปลี่ยนจากสีเหลืองอมส้มเป็นสีเหลืองปนเทา สีเทาและสีเทาอมดำ ปูม้าที่มีไข่สีเทาอมดำนั้นจะวางไข่ภายใน 1-2 วัน

       

หอยเสียบ

หอยเสียบ (Pharella javanica) บางแห่งอาจเรียก หอยมีดโกน หอยเสียบ หอยเสียบทราย ชื่อสามัญ  : Razor clam, Knife jacked clam, Cultellus clam บางครั้งอาจจะทำให้สับสนซึ่งชื่อตามภาษาไทยในท้องถิ่น เหมือนกันกับหอยเสียบ (หอยเสียบทราย)ที่มีชื่อสามัญ Donax wedge shell หรือ Pacific bean donex ซึ่งแท้ที่จริงแล้วอยู่ต่างจำพวกกัน
หอยเสียบเป็นหอยจำพวกกาบคู่ ตัวเล็ก เปลือกบาง ความยาวประมาณ 5-7 เซนติเมตร
  • ถิ่นอาศัย : พื้นท้องทะเลชายฝั่งตื้น ๆ ที่เป็นโคลนแข็งหรือโคลนแข็งปนทราย ในประเทศไทยพบมากที่ชายฝั่งของจังหวัดเพชรบุรี (ตั่งแต่ชายฝั่งตำบลบางขุนไทร - แหลมหลวงในเขตตำบลแหลมผักเบี้ย) พบน้อยมากในจังหวัดชลบุรี มีพบบ้างที่หาดราไว จังหวัดภูเก็ต
  • อาหาร : พวกไดอะตอม แพลงตอนพืช และแพลงตอนสัตว์บางชนิด

                            

น้ำมันมะกอก

น้ำมันงา

            

ระโยชน์ของงา และน้ำมันงา งาเป็นไม้ล้มลุกและเป็นไม้พื้นเมืองของประเทศแถบเส้นศูนย์สูตร มีชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า Sesamum indicum L. แสดงถึงการพบต้นไม้ชนิดว่าอยู่ในแถบดินแดนโอเรียนเต็ลนี้เอง ซึ่งก็หมายถึงประเทศไทยด้วย มีการปลูกงามากที่ประเทศจีน อินเดียไปจนถึงเม็กซิโก และสหรัฐอเมริกา งาเป็นต้นไม้ขนาดเล็กสูง 1-2 เมตร มีใบบอบบาง ดอกสีขาวหรือชมพู เมื่อผลแก่จัด จะได้เมล็ดงาจำนวนมากในฝักนั้น
เมล็ดงามีประโยชน์ ประกอบด้วยน้ำมันระหว่าง 46.4 – 52.0% มีโปรตีน 19.8 – 24.2% ซึ่งมีสัดส่วนดี จึงเป็นอาหารที่ดี มีสารมีไธโอนีนและทริพโทแฟ็นสูง มีแคลเซี่ยม โปรแตสเซี่ยมฟอสฟอรัส วิตามินบี และเหล็ก น้ำมันงาที่ดีได้มาจากการหีบโดยไม่ใช้ความร้อน (cold pressed) น้ำมันงาชนิดนี้ได้รับความนิยมอย่างสูง เพราะไม่มีการเปลี่ยนแปลงด้านโครงสร้างของโมเลกุลน้ำมัน และไม่มีสารเคมีตกค้าง
น้ำมันงามีกรดไขมันอิ่มตัวชนิดหลายตำแหน่ง (Polyunsaturated fatty acids) ระหว่าง 40.9 – 42.0% ชนิดไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว (Monounsaturated fatty acids) ระหว่าง 42.5 – 43.3% ซึ่งชนิดหลังนี้ เชื่อว่าช่วยป้องกันหลอดเลือดแดงแข็งและโรคหัวใจ

สรรพคุณ

งามีไขมันจำเป็นที่ร่างกายสังเคราะห์เองไม่ได้ คือกรดไลโนเลอิก ร่างกายจะนำกรดไขมันดังกล่าวไปสร้างฮอโมนพรอสต้าแกลนดินฮีกัน ซึ่งทำหน้าที่ที่ทรงคุณค่าต่อร่างกายมากมายหลายด้านด้วยกัน อาทิ
1.  ช่วยขยายหลอดเลือด
2.  ช่วยลดความดันโลหิต
3.  ป้องกันเกล็ดเลือด (Plate Ket) เกาะกันเป็นลิ่ม ถ้าเกาะกันมากอาจอุดตันหลอดเลือดเล็กๆได้
-  ถ้าอุดตันหลอดเลือดหัวใจ ก็จะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
-  ถ้าลิ่มเลือดไปอุดตันหลอดเลือดสมอง ก็จะป่วยเป็นอัมพาต อัมพฤกษ์ได้
-  ถ้าลิ่มเลือดอุดตันจอตา อาจทำให้ตาบอดได้ โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคเบาหวานต้องระวัง

4.  ยับยั้งไม่ให้ร่างกายสร้างคอเลสเตอรอลมากเกินไป
5.  งามีแคลเซี่ยมสูงทำให้กระดูกแข็งแรงเพิ่มความหนาให้มวลกระดูก
-  งามีแคลเซี่ยมสูงมากกว่าพืชทั่วไปถึง 40 เท่า ทั้งยังมีฟอสฟอรัสมากถึง 20 เท่า สาร 2 ตัวนี้เป็นธาตุสำคัญในการเสริมสร้างกระดูกและฟัน จึงควรให้เด็กกินงาจะได้เจริญเติบโตสูงใหญ่ สตรีวัยหมดประจำเดือนก็ควรกินงามากๆ เพราะวัยนี้จะเกิดภาวะพร่องฮอร์โมนเอสโตเจน ทำให้มีการดึงแคลเซี่ยมาจากกระดูกและฟัน จึงมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคกระดูกพรุน กระดูกเสี่อม
นอกจากนี้ในงายังมีวิตามินอี ซึ่งเป็นสารต้านมะเร็ง และเป็นยาอายุวัฒนะทำให้ร่างกายสดชื่น ดูหนุ่ม - สาวและแก่ช้าลง
    ที่สำคัญ งามีเลซิติน ซึ่งเป็นส่วนประกอบไขมันที่สำคัญมากในเซลล์ประสาท ต่อมไร้ท่อ สมอง หัวใจ ไต ควรรับประทานวันละ 1-2 ช้อนชา แล้วตามด้วยน้ำอุ่น จะทำให้จิตแจ่มใส อารมณ์ดี

เราจะเห็นว่างานั้นมีประโยชน์มากมาย แม้แต่อาหารหลักของชาวมังสวิรัติยังขาดงาไม่ได้ เพราะโปรตีนของคนเราประกอบด้วยกรดอมิโนประมาณ 22 ชนิด แต่กรดอมิโนที่ร่างกายเราสร้างเองไม่ได้มีอยู่ 9 ชนิดด้วยกัน โปรตีนเหล่านี้มีอยู่ในถั่วเกือบครบถ้วน ยกเว้นกรดอมิโนที่ชื่อ เมทไธโอนีน ผMethionine) ซึ่งมีมากในเมล็ดงา
คนโบราณนิยมใช้น้ำมันงาในการรักษาตัวเองมานานหลายพันปีมาแล้ว ทั้งในประเทศอินเดียและจีน สรรพคุณต่างๆที่รวบรวมได้มีดังนี้
    มีสรรพคุณต้านแบคทีเรีย รา และไวรัส ลดการอักเสบ ลดการเกิดการอุดตันของหลอดเลือด ใช้กับโรคเรื้อรัง เช่น ตับอักเสบ เบาหวาน และปวดศีรษะเรื้อรัง สกัดการเติบโตของเซลล์มะเร็งผิวหนัง และเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ ต้านอนุมูลอิสระ ใช้กลั้วคอและบ้วนปากจะลดเชื้อที่ทำให้เกิดเหงือกอักเสบ เชื้อก่อโรคเจ็บคอ และเชื้อหวัด ใช้หยอดจมูก (1-2 หยด) เมื่อเป็นไซนัสพบว่าได้ผลดี ใช้ทาผิวผู้เป็นโรคสะเก็ดเงินหรือเรื้อนกวาง (Psoriasis) และผู้มีผิวแห้ง ใช้ทาผิวและเคลือบเส้นผมเพื่อป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลตจากแสงแดดและลม ช่วยจับสารพิษในกระแสเลือด ช่วยรักษาเหา ลดอาการปวดตามข้อได้ ชาวธิเบตใช้หยดจมูกข้างละ 1 หยดเพื่อช่วยให้นอนหลับ และลดความกระวนกระวาย ช่วยระบายท้อง
เคล็ดลับก้นครัว
  • ใช้ประกอบอาหารได้ทุกประเภทเนื่องจากอุณหภูมิในการประกอบอาหารประมาณ 100 องศาเซ็นเซียนส ไม่ได้ทำลายคุณค่าทางโภชนาการของน้ำมัน (หากใช้แล้วไม่ควรนำกลับมาใช้ซ้ำ) ดังนั้น ทั้ง ผัด ทอด หมักหมู หมักเนื้อ ทำน้ำจิ้มสุกี้
  • ดับกลิ่นคาวปลาและอาหารทะเล
  • สำหรับทอดที่ใช้เวลาไม่นานมาก หรือเจียวไข่ ตั้งน้ำมันงาให้ร้อนรอจนฟองหมด แล้วทอดจะทำให้อาหารที่ทอดกรอบนอกนุ่มใน ไม่อมน้ำมัน อาหารมีรสชาดอร่อยขึ้น โดยไม่มีกลิ่นน้ำมันตกค้างในรสชาดอาหารเลย
  • ผัดผักกับน้ำ เหยาะเกลือป่นเล็กน้อย ใส่น้ำมันงา 1 ช้อนชา ผักจะหอมและกรอบอร่อย
  • ผสมในน้ำจิ้มสุกี้ น้ำสลัดเพื่อสุขภาพ
  • ใส่ในหม้อหุงข้าว 1 ช้อนโต๊ะ ก่อนกดปุ่ม จะช่วยให้ข้าวหอมนุ่ม อร่อย ไม่บูด ไม่เสีย ง่าย เคล็ดลับงากับความงาม1.  ใช้หมักผม จะทำให้เส้นผมดกดำ ไม่หลุดร่างง่าย ผมไม่แห้งแตกปลาย ใช้น้ำมันงาหมักผมไว้ประมาณ 30 นาทีก่อนสระออก
    2.  ใช้บำรุงผิวหน้า ผิวกาย นวดตัว คลายกล้ามเนื้อ กระตุ้นการไหลเวียนของระบบน้ำเหลือง ช่วยให้หลอดเลือดขยาย
    3. อมฆ่าเชื้อ และลดกลิ่นปาก ลดคราบบุรี ชากาแฟ อมแล้วกลั้อคอประมาณวันละ 5 นาที หลังแปรงฟัน แล้วบ้วนทิ้ง

งา (Sesame)
มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Sesamum indicum L.
วงศ์ Pedaliaceae

แก้ 20 ปัญหาคราบในห้องน้ำ

แก้ 20 ปัญหาคาใจในห้องน้ำ




     


1. เชื้อราบุก    สาเหตุหลักมาจากความชื้นภายในห้องน้ำ เพื่อป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อราตั้งแต่แรกควรเลือกบุผนังด้วยวัสดุ พื้นเรียบที่ทำความสะอาดง่าย เช่น กระเบื้องเซรามิค ใช้กระจกฝ้าหรือกระจกสีแทนม่านอาบน้ำซึ่งเป็นแหล่งสะสมความชื้นตัวสำคัญ เลือกใช้ชั้นวางของเป็นตะแกรงโลหะและใช้ประตูที่มีบานเกล็ด เพื่อให้ระบายความชื้นได้ดี และทำให้ห้องน้ำแห้งง่ายขึ้น ไม่มีกลิ่นอับชื้น แต่ถ้าห้องน้ำไม่มีช่องระบายอากาศ ต้องติดตั้งพัดลมดูดอากาศโดยด่วน ไม่อย่างนั้นปัญหานี้ก็ไม่มีทางแก้ไขได้
    วิธีการกำจัดเชื้อราในห้องน้ำ มีขั้นตอนและวิธีการที่แตกต่างกันออกไปตามชนิดของผนัง(ดูวิธีกำจัดคราบใน ปัญหาข้อต่อไป) เช่น ผนังทาสีในห้องน้ำเกิดคราบเชื้อรา เบื้องต้นลองทำความสะอาดโดยใช้แปรงขนนุ่มชุบน้ำผสมผงซักฟอกขัดก่อน หากยังไม่ออกอาจทาสีที่มีคุณสมบัติกันความชื้นทับ เช่น สีโจตาพลาสต์(Jotaplast) ผนังเดิมก็จะทนความชื้นและไม่เกิดคราบเชื้อราอีก




2. ม่านพลาสติกขึ้นรา    คงหลีกเลี่ยงไม่ได้กับคราบเชื้อราที่จะเกิดขึ้นกับม่านกั้นอาบน้ำ การทำความสะอาดบ่อยๆคงเป็นแนวทางที่ดีที่สุด อย่างน้อยเดือนละ 2 ครั้ง ด้วยการใช้แปรงขนอ่อนชุบผงซักฟอกทำความสะอาด ล้างน้ำแล้วผึ่งให้แห้ง แต่ในปัจจุบันนี้มีน้ำยาทำความสะอาดให้เลือกใช้หลายชนิด เช่น วิกซอลหรือเป็ด ควรถอดม่านลงและราดน้ำยาทำความสะอาดลงไปให้ทั่วบริเวณคราบเชื้อรา ทิ้งไว้ 2-3 นาที ล้างออกด้วยน้ำอีกครั้ง แต่ข้อควรระวังคือ น้ำยาเหล่านี้มีความเข้มข้นมาก อย่าให้สัมผัสโดนร่างกายเพราะอาจเป็นอันตรายได้



3. กระจกเงาขุ่น ขึ้นฝ้าเพียบ    ใครจะเชื่อว่าของธรรมดาที่ทุกบ้านต้องมีติดครัวสามารถช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ ได้ เริ่มจากนำน้ำส้มสายชู 2 ช้อนโต๊ะ ผสมแอมโมเนีย 1 ช้อนโต๊ะ หรืออาจเลือกใช้น้ำ 1 ลิตร ผสมแอลกอฮอล์ 3/4 ลิตร เลือกเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งมาทำความสะอาดกระจก ใช้ผ้าชุบสารทำความสะอาดที่เราทำขึ้นมาถูบริเวณคราบสกปรก จากนั้นล้างออกด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง เป็นอันเสร็จสิ้น แต่ควรระวังไม่ให้น้ำยาที่ใช้ไปสัมผัสกับขอบด้านข้างและด้านหลังของกระจก เพราะจะทำให้สารที่เคลือบอยู่หลังกระจกหลุดลอกเสียหายได้

    ส่วนเรื่องกระจกเป็นฝ้านั้น เพียงใช้นิ้วของเราถูสบู่แล้วนำมาเช็ดกระจกวนไปวนมา ทำซ้ำหลายๆครั้งจนฝ้าหายไป จากนั้นใช้ผ้าเช็ดสบู่ออกให้หมด เท่านี้กระจกธรรมดาก็จะกลับมาเป็นกระจกวิเศษอีกครั้งแล้ว



4. อุปกรณ์สเตนเลสไม่เงาดังเดิม    งานนี้สบายมาก เคล็ดลับง่ายๆในการทำความสะอาดสเตนเลสให้ขาวใสดังเดิม ทำได้โดยใช้น้ำชาแบบเข้มข้นสักนิด(พร้อมใบชาด้วยยิ่งดี) ขัดบริเวณที่ต้องการทำความสะอาด ขัดจนเกิดความมันเงา เสร็จแล้วล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง เป็นอันเสร็จสิ้น...อะไรจะง่ายปานนั้น



5. กระเบื้องมีแต่คราบสบู่    แก้ไขโดยผสมน้ำ 4 ส่วนกับน้ำส้มสายชู 1 ส่วนเข้าด้วยกัน ใช้ผ้าชุบแล้วเชดที่คราบสบู่ เช็ดออกให้หมด แล้วล้างจนสะอาด จากนั้นเช็ดให้แห้งอีกครั้ง เป็นอันเรียบร้อย แต่ขอแนะนำว่า หลังอาบน้ำถ้าสังเกตเห็นว่ามีสบู่ติดอยู่ที่ผนังก็ไม่ควรปล่อยไว้ ให้รีบเช็ดออกทันที(ป้องกันไว้ดีกว่าแก้)



6. ห้องน้ำปูนเปลือย อุดมไปด้วยเชื้อราและตะไคร่น้ำ    ธรรมชาติของปูนเปลือย ไม่มีคุณสมบัติในการป้องกันความชื้น แต่ถ้าต้องการนำมาใช้ในส่วนของห้องน้ำ ไม่ว่าจะเป็นพื้นหรือผนัง ต้องมีการเตรียมพื้นผิวขัดมัน ซึ่งมีคุณสมบัติในการกันน้ำมากกว่า ปัจจุบันมีน้ำยาฆ่าเชื้อราและตะไคร่น้ำวางขายอยู่ตามท้องตลาด ถ้าทาก่อนรับรองไม่มีเชื้อราแน่นอน
    และถ้าเกิดคราบเชื้อราขึ้นมาแล้วนั้นให้ใช้น้ำ 2 ลิตร ผงซักฟอก 1 ช้อนโต๊ะ ผสมให้เข้ากัน และใช้แปรงขนอ่อนขัดได้ทันที




7. มีเชื้อราบนพื้นไม้ในห้องน้ำ    หากพื้นไม้แสนรักที่อยู่ในห้องน้ำของเราเกิดคราบเชื้อรา สามารถกำจัดได้โดยใช้ผ้าชุบน้ไยซักแห้งแล้วนำมาเช็ด แต่ถ้าเชื้อราฝังลึกลงไปมากแล้ว ให้ขจัดออกโดยน้ำยาฆ่าเชื้อโรคหรือผงฟอกขาวจนคราบราออกไปจนหมด
    ปัญหานี้ป้องกันได้ด้วยการไม่ให้พื้นไม้สัมผัสน้ำหรือสัมผัสน้อยที่สุด และในห้องน้ำควรมีการระบายอากาศที่ดี แสงแดดส่องถึงจะยิ่งดีมาก เพียงเท่านี้ก็เป็นการปกป้องพื้นไม้จากเชื้อราแล้ว แนะนำว่าการใช้พื้นไม้ในห้องน้ำต้องทาน้ำยาป้องกันเชื้อราและเคลือบผิวทุก ครั้ง จะช่วยให้ไม้สวยทนยิ่งขึ้น




8. ยาแนวกระเบื้องขึ้นราดำ    ปัญหานี้พบมากที่สุดกับผนังโมเสกซึ่งนิยมใช้ตกแต่งบ้านยุคนี้ แผ่นกระเบื้องนั้นทนทานต่อความชื้นอยู่แล้ว อาจทำความสะอาดโดยใช้น้ำธรรมดาเช็ดได้ ส่วนที่จะเกิดคราบสกปรกได้มากกว่าคือส่วนของยาแนว ซึ่งในการทำความสะอาดนั้น สามารถทำได้โดยใช้น้ำส้มสายชูเข้มข้นขัดถูจนขาวสะอาด แล้วล้างน้ำออกให้หมด รับรองยาแนวไร้คราบเชื้อราแน่นอน



9. เชื้อราบนกระเบื้องดินเผา    ผนังที่ตกตแงด้วยกระเบื้องดินเผามีโอกาสเกิดคราบเชื้อราและคราบสกปรกได้ มากกว่าวัสดุอื่นๆ เพราะตัววัสดุเองมีความสามารถกักเก็บความชื้นได้ดี หากบริเวณที่มีการใช้งานต้องเปียกน้ำอยู่ตลอดเวลา ควรเช็ดทำความสะอาดให้แห้งทุกครั้งก็จะเป็นการป้องกันได้ในระดับหนึ่ง หรือเคลือบผิวด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อรา, น้ำยากันตะไคร่น้ำ เพียงเท่านี้กระเบื้องดินเผาก็สวยได้นานนับปีแล้ว



10. ระวังพื้นลื่นนะ    ไม่ว่าจะเป็นห้องน้ำเล็กหรือใหญ่ นอกจากความสวยงานแล้ว ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ใช้เป็นหลักด้วย การแบ่งแยกส่วนแห้งส่วนเปียกอย่างเป็นสัดส่วนก็เป็นการป้องกันอย่างหนึ่ง และเพื่อป้องกันการลื่นหกล้ม กระเบื้องหรือหินที่ใช้ปูพื้นควรเป็นชนิดไม่ลื่น ยิ่งผิวยิ่งหยาบยิ่งปลอดภัย ปัจจุบันมีแผ่นกันลื่นให้เลือกใช้มากมายหลากหลาย ทั้งแบบพลาสติกโฟม พลาสติกไวนิล และยาง ลองหาซื้อมาใช้กันตามความเหมาะสม หรือใช้สเปรย์กันลื่นที่ใช้ฉีดพื้นห้องน้ำหรือทางเดิน




ยางลบ

           

       ยางลบ (อเมริกัน: eraser บริติช: rubber) คือเครื่องเขียนชนิดหนึ่ง ใช้สำหรับลบรอยดินสอหรือปากกาที่เขียนบนวัสดุอย่างหนึ่งเช่นกระดาษ โดยใช้ยางลบถูไปมาจนรอยเขียนหายไป และดินสอส่วนมากมักจะมียางลบติดมาด้วยเพื่อใช้ควบคู่กัน ยางลบนั้นทำมาจากยางเป็นหลัก แต่สำหรับยางลบที่ใช้งานเฉพาะทางก็อาจผลิตด้วยไวนิล พลาสติก หรือยางธรรมชาติอื่นๆ ก็ได้ ส่วนมากจะพบเป็นสีขาว แต่ก็สามารถผลิตให้เป็นสีอื่นๆ ได้แล้วแต่ส่วนผสมของวัสดุ
       ผู้คนในสมัยก่อนที่จะมียางลบ พวกเขาใช้ขนมปังสีขาวที่ไม่มีขอบเพื่อลบรอยดินสอแกรไฟต์และถ่านหิน ซึ่งวิธีนี้บางครั้งยังมีการใช้อยู่โดยศิลปินสมัยใหม่
ในปี ค.ศ. 1770 วิศวกรชาวอังกฤษชื่อ เอดเวิร์ด แนร์น (Edward Nairne) ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้คิดค้นยางลบที่ทำจากยางเป็นคนแรก เหตุที่แนร์นค้นพบยางลบคือเขาไปหยิบก้อนยางแทนที่จะเป็นขนมปังมาถูรอยดินสอโดยไม่ได้ตั้งใจ และค้นพบคุณสมบัติในการลบของยาง จากนั้นจึงเริ่มผลิตยางลบออกขาย และมีการรายงานว่ายางลบของเขามีราคา 3 ชิลลิงต่อครึ่งลูกบาศก์นิ้ว ซึ่งแพงมากในสมัยนั้น
อย่างไรก็ตาม ยางลบก็ไม่ได้ทำให้เกิดความสะดวกสบายไปมากกว่าขนมปัง เนื่องจากยางลบในขณะนั้นสามารถเน่าเสียและย่อยสลายได้เหมือนขนมปัง ต่อมาในปี ค.ศ. 1839 ชาร์ลส กูดเยียร์ (Charles Goodyear) ค้นพบกระบวนการวัลคาไนเซชัน (vulcanization) ซึ่งเป็นวิธีการรักษายางและทำให้เป็นวัสดุที่คงทนถาวร ยางลบที่ทำจากยางวัลคาไนซ์จึงเป็นที่นิยมจนถึงปัจจุบัน
เมื่อวันที่ 30 มีนาคม ค.ศ. 1858 ไฮเมน ลิปแมน (Hymen Lipman) จากฟิลาเดลเฟีย มลรัฐเพนซิลเวเนีย สหรัฐอเมริกา จดสิทธิบัตรในการติดยางลบเข้ากับปลายดินสออีกข้างหนึ่งเป็นครั้งแรก แต่ในภายหลังถูกยกเลิกเนื่องจากเป็นเพียงการนำอุปกรณ์สองชนิดประกอบเข้าด้วยกัน มากกว่าที่จะเป็นผลิตภัณฑ์ตัวใหม่