วันเสาร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2554

กุ้งก้ามกราม

                               
กุ้งก้ามกราม (Macrobrachium rosenbergii de man)   เป็นกุ้งน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด โดย เฉพาะเพศผู้มีคุณค่าทางเศรษฐกิจสูง เนื่องจากมีความต้องการของตลาด ทั้งใน และต่างประเทศจำหน่าย ได้ในราคาสูง  ในปี 2545 มูลค่าของผลผลิตมากกว่า 4,000 ล้านบาท ปัจจุบันประเทศไทยมีประชากรมากขึ้นความต้องการพื้นที่เพื่ออยู่อาศัยและกิจกรรมต่างๆจึงมีความจำเป็นมากขึ้นเป็นเงาตามตัว พื้นที่สำหรับเลี้ยงสัตว์น้ำจึงขยายตัวได้ยากและมีแนวโน้มลดลงตลอด การเลี้ยงกุ้งก้ามกรามของเกษตรกรไทยนิยมเลี้ยงในบ่อดินขนาด 3-9 ไร่ เนื่องจากกุ้งก้ามกรามมีพฤติกรรมหวงถิ่น ด้วยเหตุนี้จึงต้องใช้พื้นที่ดินและน้ำในปริมาณมากทำให้มีค่าใช้จ่ายสูง ในขณะ เดียวกันยังพบปัญหากุ้งที่เลี้ยงโตไม่เท่ากัน กุ้งกินกันเอง และกุ้งเป็นโรค กุ้งที่เลี้ยงได้มีขนาดเล็ก ผลผลิตกุ้งก้ามกรามในบ่อดินประมาณไร่ละ 300-400 กิโลกรัมต่อปี แบ่งเป็นขนาด 40-50 ตัวต่อกิโลกรัม ประมาณ 35 เปอร์เซ็นต์ ขนาด 20-30 ตัวต่อกิโลกรัม ประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ และขนาด 10-15 ตัวต่อกิโลกรัม ประมาณ 15 เปอร์เซนต์การเลี้ยงในบ่อดินใช้เวลานานขึ้นเท่าใด ยิ่งทำให้พื้น บ่อมีการสะสม ของเสียมากขึ้นก่อให้เกิดการเน่าเสียของพื้นบ่อ และปัญหาที่สำคัญก็ คือ เกษตรกรยังไม่สามารถเลี้ยงให้กุ้งก้ามกรามให้มีขนาดใหญ่คือขนาดตัวละ 200-300 กรัม (ขนาด 3-5 ตัว/กิโลกรัม) ซึ่งมีราคาสูงกว่ากุ้งขนาดเล็กถึง 5-6 เท่า กุ้งขนาดใหญ่นี้มักเรียกว่ากุ้งแม่น้ำเนื่องจากมีขนาดใหญ่น่ารับประทาน ราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 400-800 บาท  ปัจจุบันผลผลิตกุ้งก้ามกราม ที่จับได้จากธรรมชาติมีไม่มากและขนาดใหญ่ก็มีน้อยลงมากผลผลิตกุ้งก้ามกรามของไทย 70 เปอร์เซนต์ บริโภคภายในประเทศและส่งออกประมาณ 30 เปอร์เซนต์ จากข้อมูลการส่งออกกุ้งก้ามกรามแช่แข็งในปี พ.ศ. 2542 มีการส่งออกทั้งสิ้น 1,027 ตัน และ เพิ่มขึ้นเป็น 2,964 ตัน ในปี พ.ศ. 2543 ประเทศผู้ซื้อได้แก่ ประเทศกลุ่มสหภาพยุโรปซึ่งมีมาตรการเข้มงวดในการตรวจสารตกค้างในกุ้งที่นำเข้า และล่าสุดประเทศผู้ซื้อตรวจพบสารตกค้าง nitro furans (metabolites) ในสินค้ากุ้งก้ามกรามจากประเทศไทย ปัญหาเหล่านี้ก่อให้เกิดอุปสรรคต่อการขยายตลาดการส่งออกกุ้งก้ามกรามของไทยรายงานของ องค์การการค้าโลก (WTO) ระบุว่าเมื่อ ปี พ.ศ. 2543 ตลาดผลผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ของโลกมีมูลค่ามากถึง 8 แสนล้านบาทและมีอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ ตลาดใหญ่สุดอยู่ที่ประเทศยุโรป ปีละ 250,000 ล้านบาท รองลงมาสหรัฐอเมริกาปีละ 200,000 ล้านบาท และญี่ปุ่นประมาณปีละ 45,000 ล้านบาท มีแนวโน้มการขยายตัวอย่างต่อเนื่องในอนาคตเนื่องจาก ผู้บริโภคเริ่มหันมาใส่ใจต่อสุขภาพของตนเองมากยิ่งขึ้นศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดชัยนาท จึงเริ่มดำเนินการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตกุ้งก้ามกรามให้ได้ขนาดใหญ่เพื่อการบริโภคภายในประเทศและการส่งออก ตั้งแต่ปี 2543 จนถึงปัจจุบัน เพื่อเพิ่มศักยภาพให้ได้ผลผลิตกุ้งก้ามกรามขนาดใหญ่ประมาณ 200-300 กรัม/ตัว (หรือ 3-5 ตัว/กิโลกรัม) โดยเน้นคุณภาพกุ้งปลอดสารหรือกุ้งอินทรีย์ (GAP) พร้อมกับการพัฒนาระบบการเลี้ยงแบบชีวภาพตามแนวทาง Code of Conduct (CoC) เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค และเป็นการเลี้ยงที่ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโครงการหนึ่งที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดชัยนาท กำลังวิจัยและพัฒนาเพื่อปรับปรุงคุณ ภาพกุ้งก้ามกรามขนาดใหญ่และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย คือ โครงการเลี้ยงกุ้งก้าม กรามแบบแยกเลี้ยงเดียวระบบน้ำหมุนเวียน (กุ้งคอนโด) โดยศึกษาวิจัยและพัฒนาโครงการดังกล่าว ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดชัยนาท สำนักวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด กรมประมง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น