วันเสาร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2554

ส้มโอ


                    





แหล่งปลูกกระจายไปทั่วทุกภาคของประเทศไทย จังหวัดที่มีพื้นที่ปลูกมากที่สุด คือ จังหวัดชุมพร นครศรีธรรมราช เชียงใหม่ เชียงราย และนครปฐม

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
• อุณหภูมิเฉลี่ย 25-30 องศาเซลเซียส
• ปริมาณน้ำฝน 1200-2000 มิลลิเมตรต่อปี
• ดินร่วนปนทราย การระบายน้ำดี
• ความเป็นกรด-ด่าง 5.5-6

พันธุ์ที่นิยมปลูก
ส้มโอที่นิยมปลูกเป็นการค้าในประเทศไทย ซึ่งให้ผลผลิตมีคุณภาพมาตรฐาน เมื่อปลูกในแหล่งที่เหมาะสมดังนี้

พันธุ์ขาวทองดี
แหล่งปลูกในภาคกลาง จังหวัดนครปฐม สมุทรสาคร และราชบุรี เริ่มให้ผลผลิตเมื่ออายุ 4 ปีหลังปลูก ออกดอกเดือนมกราคม เก็บผลผลิตเดือนสิงหาคม-กันยายน ของทุกปี ถ้าเป็นทวายจะออกดอกเดือนมิถุนายน เก็บผลผลิตเดือนมีนาคม-เมษายน ผลกลมแป้นหัวมีจีบเล็กน้อยขนาด ปานกลาง เส้นผ่าศูนย์กลางผลประมาณ14-16 เซนติเมตร เยื่อหุ้มกลีบสีชมพูเรื่อๆ เนื้อกุ้งฉ่ำสีชมพูอ่อนรสหวานจัด นิยมบริโภคทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ

พันธุ์ขาวน้ำผึ้ง
แหล่งปลูกเช่นเดียวกับพันธุ์ขาวทองดี ปลูกมากที่อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม เริ่มให้ผลผลิตเมื่ออายุ 4 ปีหลังปลูก ออกดอกเดือน ธันวาคม-มกราคม เก็บผลผลิตเดือนสิงหาคม-กันยายนของทุกปี ผลกลมค่อนข้างสูง ขนาดปานกลาง เส้นผ่าศูนย์กลางของผลประมาณ 17 ซ.ม. เยื่อหุ้มกลีบสีขาว และเนื้อกุ้งเป็นสีน้ำผึ้ง รสหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย ให้ผลดก ราคาใกล้เคียงกับพันธุ์ขาวทองดี

พันธุ์ขาวแตงกวา
แหล่งปลูกอยู่ทางภาคเหนือตอนล่าง จังหวัดชัยนาท นครสวรรค์ และอุทัยธานี เริ่มให้ผลผลิตเมื่ออายุ 4 ปีหลังปลูก ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์ เก็บผลผลิตเดือนกันยายนของทุกปี ถ้าเป็นทวายจะออกดอกเดือนสิงหาคม เก็บผลผลิตเดือนมีนาคม ผลกลมแป้น ขนาดปานกลาง เส้น ผ่าศูนย์กลางผลประมาณ 14-16 เซนติเมตร เยื่อหุ้มกลีบสีขาว เนื้อกุ้งสีขาวอมเหลือง รสหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อยมีราคาสูง

พันธุ์ขาวพวง
แหล่งปลูกในภาคเกลาง จังหวัดนครปฐม ราชบุรี สมุทรสาคร และปราจีนบุรี เริ่มให้ผลผลิตเมื่ออายุ 4 ปี หลังปลูก ออกดอก และเก็บผลผลิตช่วงเดียวกับพันธุ์ทองดี ผลกลมสูงเล็กน้อย หัวจุกสูงมีจีบ ขนาดปานกลาง เส้นผ่าศูนย์กลางผลประมาณ 18 เซนติเมตร เยื่อหุ้มกลีบและเนื้อกุ้งขาวอมเหลือง รสหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย นิยมใช้ในเทศกาลไหว้พระจันทร์ และส่งไปขายต่างประเทศ ราคาค่อนข้างดี

พันธุ์ท่าข่อย
แหล่งปลูกในภาคเหนือตอนล่าง จังหวัดพิจิตร และพิษณุโลก เริ่มให้ผลผลิตเมื่ออายุ 4 ปีหลังปลูก ออกดอกเดือน มกราคม-กุมภาพันธ์ เก็บผลผลิตเดือนสิงหาคม ถึงกันยายนของทุกปี ถ้าเป็นทวายจะออกดอกเดือนมิถุนายน ให้ผลผลิตเดือน กุมภาพันธ์-มีนาคม ผลกลมสูง หัวมีจีบเล็กน้อย ขนาดปานกลาง เส้นผ่าศูนย์กลางผลประมาณ 15-18 เซนติเมตร เยื่อหุ้มกลีบสีชมพู เนื้อกุ้งสีชมพูอ่อนฉ่ำน้ำรสหวานอมเปรี้ยว มีเมล็ดน้อยหรือเมล็ดลีบ บางผลไม่มีเมล็ด ราคาดีปานกลาง
พันธุ์ท่าข่อยบุญยงค์พิจิตร
วันที่รับรอง : 25 กันยายน 2540
ประเภทพันธุ์ : พันธุ์แนะนำ
ได้จากการคัดเลือกส้มโอท่าข่อยโคลนพันธุ์ดีจากสวนเกษตรกรในเขตอำเภอโพทะเลอำเภอเมือง อำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร และจังหวัดกำแพงเพชร 19 สวน ได้นำผลผลิตมาตรวจสอบลักษณะภายนอก-ภายใน จำนวน 5 ผลต่อต้น เพื่อคัดเลือกหาพันธุ์ดี โดยดำเนินการเก็บข้อมูลและติดตามตรวจผลอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 3 ปี (2532 - 2535) พบว่าให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์ รับรองที่มีอยู่
ลักษณะดีเด่น :
1. เนื้อมีรสชาติดีกว่าส้มโอพันธุ์ท่าข่อยทั่วไป
2. ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมของเขตภาคเหนือตอนล่างได้ดี
3. ให้ผลผลิตสูงถึงประมาณ 180 ผลต่อต้นต่อปี ซึ่งสูงกว่าส้มโอท่าข่อยทั่วไป ที่ให้ผลผลิต140 ผลต่อต้นต่อปี
4. ผลค่อนข้างโต โดยมีน้ำหนักผลโดยเฉลี่ย 1.53 กิโลกรัม ซึ่งสูงกว่าส้มโอท่าข่อยทั่วไปที่ให้เปอร์เซ็นต์เนื้อ 52.83%
ข้อจำกัด :
1. ควรจะปลูกในเขตภาคเหนือตอนล่าง เช่น ที่จังหวัดพิจิตร และ กำแพงเพชร ซึ่งจะให้ผลผลิตสูง และมีคุณภาพดี
2. ต้องเก็บเกี่ยวเมื่ออายุผล 7-7.5 เดือน (นับจากเมื่อติดผลจนกระทั่งทำการเก็บเกี่ยว)จะได้คุณภาพที่ดีมาก รสชาติดีที่สุด
พื้นที่แนะนำ : แนะนำให้ปลูกในเขตภาคเหนือตอนล่าง ในพื้นที่ใกล้แหล่งน้ำธรรมชาติ ได้แก่ พื้นที่ในเขตจังหวัดพิจิตร และในเขตจังหวัดใกล้เคียง เป็นโคลนพันธุ์ดีจากสวนเกษตรกร

พันธุ์ขาวใหญ่
แหล่งปลูกอยู่จังหวัดสมุทรสงคราม นครปฐม และสมุทรสาคร เริ่มให้ผลผลิตเมื่ออายุ 4 ปีหลังปลูก ออกดอก เดือนธันวาคม-มกราคม เก็บผลผลิตเดือนสิงหาคม-กันยายน ผลกลมสูง ขนาดปานกลาง เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณประมาณ 14-18 เซนติเมตร เยื่อหุ้มกลีบสีขาวเนื้อกุ้งแห้ง สีขาวอมเหลือง รสหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย ราคาใกล้เคียงกับพันธุ์ขาวทองดี
พันธุ์ขาวหอม
แหล่งปลูกเช่นเดียวกับพันธุ์ขาวทองดี ปลูกมากที่อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม เริ่มให้ผลผลิตเมื่ออายุ 4 ปีหลังปลูก ออกดอกเดือนธันวาคม-มกราคม เก็บผลผลิตเดือนสิงหาคม-กันยายนของทุกปี ผลกลม ขนาดปานกลาง เส้นผ่าศูนย์กลางผลประมาณ 12-16 ซ.ม. เยื่อหุ้มกลีบสีขาว เนื้อกุ้งสีขาวอมเหลือง รสหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย นิยมบริโภคมาก
พันธุ์ขาวแป้น
แหล่งปลูกเช่นเดียวกับพันธุ์ขาวพวง เริ่มให้ผลผลิตเมื่ออายุ 4 ปี หลังปลูก ออกดอก และเก็บผลผลิตในช่วงเดียวกับพันธุ์ขาวทองดี ผลกลมแป้น หัวไม่มีจุก แต่มีจีบเล็กน้อย ขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางผลประมาณ 12-15 ซ.ม. เยื่อหุ้มกลีบและเนื้อกุ้งสีขาว รสหวานอมเปรี้ยว ให้ผลผลิตสูง ราคาไม่ค่อยสูง
พันธุ์หอมหาดใหญ่
ปลูกมากที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เริ่มให้ผลผลิตเมื่ออายุ 4 ปี หลังปลูก ออกดอกเดือนมิถุนายน-กรกฎาคมเก็บผลผลิตเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม ผลกลมสูงเล็กน้อย ขนาดปานกลาง เส้นผ่าศูนย์กลางผลประมาณ 15 เซนติเมตรเยื่อหุ้มกลีบสีขาวอมชมพูอ่อน เนื้อสีทับทิม หรือชมพูเข้มถึงสีแดง รสหวานอมเปรี้ยว เนื้อกุ้งฉ่ำน้ำแต่แห้ง ราคาดี ส่งออกประเทศสิงคโปร์ และมาเลเซีย
การปลูก
การเตรียมดิน
• วิเคราะห์ดิน เพื่อประเมินค่าความอุดมสมบูรณ์ของธาตุอาหารพืชในดินและความเป็นกรดด่างของดิน ปรับสภาพดินตามคำแนะนำก่อนปลูก
• ไถดินลึกประมาณ 30 เซนติเมตร ตากดินไว้ 20-25 วัน พรวนย่อยดินอีก 2 ครั้ง ปรับระดับดินให้สม่ำเสมอ และคราดเก็บเศษวัชพืชออกจากแปลง
• พื้นที่ดอนที่น้ำไม่ท่วมขัง ไม่ต้องยกร่อง ควรทำร่องน้ำตามความยาวของพื้นที่ กว้าง 25 เซนติเมตร ลึก 20 เซนติเมตร ทุกระยะ 100 เมตรของแนวปลูก หรืออาจยกร่องเป็นลักษณะลูกฟูก เพื่อระบายน้ำโดยทำการกักน้ำเป็นจุด ๆ ขณะที่น้ำไหลผ่านร่องตลอดเวลา
• พื้นที่ลุ่มที่มีน้ำท่วมขัง ปลูกบนสันร่องกว้าง 6-7 เมตร ระหว่างร่องกว้าง 1 เมตร ลึก 1 เมตร ควรยกร่องในแนวทิศเหนือ-ใต้ เพื่อให้ส้มโอได้รับแสงแดดสม่ำเสมอและทั่วถึง หากเป็นที่ลุ่มมากต้องทำคันกั้นน้ำรอบสวน และฝังท่อระบายน้ำเข้าและออกจากสวน เพื่อควบคุมระดับน้ำในสวนได้ตลอดเวลา
ระยะปลูก
• พื้นที่ดอน ระยะปลูกระหว่างแถวและต้น 6x6 เมตร และควรปลูกพืชล้มลุกด้วยในระยะเวลาช่วงปีที่ 1 - ปีที่ 4 เพื่อเพิ่มรายได้อีกทาง ก่อนที่ส้มโอจะให้ผลผลิต
• พื้นที่ลุ่ม ระยะปลูกแถวและต้น 8x6 เมตร
หลุมปลูก (ปลูกช่วงต้นฤดูฝน)
• ขุดหลุมปลูกขนาดกว้าง ยาว ลึก ประมาณ 50x50x50 เซนติเมตร
• ผสมดินที่ได้จากการขุดหลุมกับปุ๋ยคอกที่ย่อยสลายดีแล้ว อัตรา 4-6 กิโลกรัมและปุ๋ยร็อคฟอสเฟต 500 กรัมต่อหลุม ใส่ลงในหลุมประมาณ 2 ใน 3 ของหลุม
วิธีปลูก
• วางต้นพันธุ์ส้มโอในหลุมให้รอยต่อระหว่างต้นตอและราก สูงกว่าระดับพื้นดินปากหลุมเล็กน้อย
• ใช้มีดคมกรีดจากก้นถุงขึ้นมาถึงปากถุงทั้งสองด้าน แล้วดึงถุงพลาสติกออกระวังอย่างให้ดินแตก
• กลบดินที่เหลือลงในหลุม ซึ่งจะนูนเหมือนหลังเต่า แล้วกดดินบริเวณรอบต้นตอให้แน่น
• ปักไม้หลักและผูกเชือกยึดต้นเพื่อป้องกันการโยกคลอนของต้นพันธุ์
• คลุมดินบริเวณโคนต้นด้วยฟางข้าวหรือหญ้าแห้ง
• รดน้ำให้ชุ่ม

การดูแลรักษา
การใส่ปุ๋ย
• ส้มโออายุ 1 ปี เป็นช่วงที่รากเริ่มงอก ให้ปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0+15-15-15 หรือ 46-0-0+16-16-16 สัดส่วน 1:1 อัตรา 0.5 กิโลกรัม/ต้น ในสภาพดินร่วนเหนียวแบ่งใส่ 4 เดือน/ครั้ง ในสภาพดินร่วนปนทรายแบ่งใส่ 3 เดือน/ครั้ง และให้ปุ๋ยเคมีสูตรดังกล่าว อัตรา 1 และ 2 กิโลกรัม/ต้น เมื่อส้มโออายุ 2 และ 3 ปี ตามลำดับ
• ส้มโออายุ 4 ปี ที่เริ่มให้ผลผลิต ให้ปุ๋ยเคมีสูตร 25-7-7 หรือ 15-15-15 +46-0-0 สัดส่วน 1:1 อัตรา 1-3 กิโลกรัม/ต้นในช่วงต้นฤดูฝนเพื่อเร่งยอด ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 อัตรา 0.5-1.0 กิโลกรัมต่อต้น และพ่นปุ๋ยเคมีสูตร 7-13-34+สังกะสี 12.5% อัตรา 30-50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ประมาณ 2-3 ครั้ง ก่อนออกดอก 2 เดือน เพื่อเร่งดอก และใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 1-3 กิโลกรัมต่อต้นเพื่อเพิ่มขนาดผลและใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 อัตรา 1-3 กิโลกรัมต่อต้นก่อนเก็บเกี่ยว 2 เดือนเพื่อเพิ่มคุณภาพด้านรสชาติ
• หลังเก็บเกี่ยวผลผลิต ในช่วงปลายฤดูฝนที่ไม่มีฝนตกแล้วควรใส่ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยพืชสด หรือตอซังพืชที่ย่อยสลายดีแล้ว อัตรา 10-30 กิโลกรัมต่อต้นโรยรอบทรงพุ่ม และไม่ต้องพรวนดิน
การให้น้ำ
• ความต้องการน้ำของส้มโอประมาณ 0.6 เท่าของค่าอัตราการระเหยน้ำ (มิลลิเมตรต่อวัน) คูณด้วยพื้นที่ใต้ทรงพุ่ม เช่น เมื่ออัตราการระเหยน้ำวันละ 3.8-5.7 มิลลิเมตร มีพื้นที่ทรงพุ่ม 1 ตารางเมตร เท่ากับการให้น้ำ 2.3-3.4 ลิตรต่อต้นต่อวัน
• ส้มโออายุ 4 ปี เริ่มให้ผลผลิต ควรงดให้น้ำ 15-30 วันก่อนออกดอก เพื่อให้ส้มโอออกดอกและติดผลได้ดี ไม่แตกยอดอ่อน
• ควรงดให้น้ำช่วงส้มโอออกดอก เพื่อป้องกันดอกร่วงและเริ่มให้น้ำอีกหลังช่อดอกเริ่มพัฒนา โดยเพิ่มปริมาณน้ำทีละน้อยจนถึงระดับการให้น้ำปกติ
• ถ้าใบอ่อนเริ่มห่อตัวแสดงว่าส้มโอขาดน้ำ ควรรีบให้น้ำ
การดูแลรักษาหลังติดผล
• เก็บผลที่เป็นโรค หรือมีอาการยางไหล นำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก
• ตัดแต่งผลออกให้เหลือผลเดี่ยว 2-3 ผลต่อกิ่ง
• ควรใช้ไม้ค้ำยันเพื่อป้องกันกิ่งฉีกหัก
การตัดแต่งและควบคุมทรงพุ่ม
• หลังเก็บเกี่ยว ควรตัดแต่งกิ่งกระโดง กิ่งแห้ง กิ่งคดงอ และกิ่งเบียดเสียดออก เพื่อให้ทรงพุ่มโดยเฉพาะส่วนยอดโปร่งแสงแดดส่องเข้าถึงภายในทรงพุ่ม
• หลังการตัดแต่งกิ่ง ควรทารอยแผลด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อราคอปเปอร์อ๊อกซี่ คลอไรด์ หรือปูนขาว หรือปูนแดง

การเก็บเกี่ยว
ระยะการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม
• เก็บผลผลิตหลังดอกบาน 6.5-7.5 เดือน ถ้าเก็บผลอายุมากขึ้น คุณภาพของเนื้อส้มโอจะลดลง เนื้อจะแข็งร่วนคล้ายข้าวสาร
• ผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยว ต่อมน้ำมันรอบจุดสีน้ำตาลที่บริเวณก้นผลจะห่าง สีเปลือกรอบจุดสีน้ำตาลจะเป็นสีเหลือง ผิวก้นผลไม่เรียบ นิ่ม ผิวผลมีนวล
• ผลที่เก็บหลังดอกบาน 6.5 เดือน มีรสหวานเปรี้ยว มีอายุการวางขายนาน ผลที่เก็บหลังดอกบาน 7.5 เดือน มีรสอมเปรี้ยวเพียงเล็กน้อย
การปฏิบัติขณะเก็บเกี่ยว
• ใช้กรรไกรตัดก้านขั้วผลและมีถุงผ้ารองรับ
• ส้มโอที่เก็บเกี่ยวแล้ว ควรใส่เข่งหรือตะกร้าสะอาด แล้วรวบรวมไว้ที่ร่ม

การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว
การคัดเลือกผล
• คัดผลที่มีตำหนิและเป็นโรคออก
• คัดขนาดคุณภาพส้มโอตามมาตรฐานส้มโอหรือตามความ ต้องการของตลาด
ตัดแต่งและล้างทำความสะอาด
ผึ่งให้แห้ง จะเคลือบด้วยสารเคลือบผิวหรือไม่ก็ได้ การตลาดภายในประเทศบรรจุในตะกร้าพลาสติก โดยเรียงส้มโอ 2-3 ชั้น สำหรับตลาดต่างประเทศบรรจุในกล่องกระดาษลูกฟูก เรียง 1-2 ชั้น โดยมีกระดาษลูกฟูกคั่นระหว่างผล
การเก็บรักษาและการขนส่ง
การเก็บรักษา
เก็บผลส้มโอในภาชนะที่สะอาดและเก็บไว้ที่ที่มีอากาศถ่ายเทได้ดี ถ้าเก็บรักษาในห้องเย็นควรเก็บที่อุณหภูมิ 10 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 85-95 %
การขนส่ง
การขนส่งทางเรือโดยใช้ตู้ปรับอุณหภูมิ หากขนส่งนาน 2 สัปดาห์ ควรใช้อุณหภูมิ 10 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำกว่านี้เหมาะสำหรับการขนส่งระยะสั้นไม่เกิน 1-2 สัปดาห์
โรคที่สำคัญของส้มโอและการป้องกันกำจัด

โรคแคงเกอร์
• เชื้อคล้ายแบคทีเรีย
ลักษณะอาการ
เชื้อโรคอาศัยในท่ออาหารของต้นส้มโอทำให้ใบแสดงอาการคล้ายขาดธาตุอาหาร คือ ใบเหลืองซีด เส้นใบมีสีเขียว หรือใบด่างเหลืองเป็นหย่อม ๆ คล้ายลักษณะอาการขาดธาตุสังกะสี เส้นใบอาจแตก ต้นทรุดโทรม ถ้าเป็นโรครุนแรง ปริมาณรากจะลดน้อยลงมาก ทำให้ผลหลุดร่วงก่อนแก่ เชื้อโรคแพร่ระบาดโดยเพลี้ยไก่แจ้ส้ม เป็นแมลงพาหะและติดไปกับกิ่งพันธุ์ เช่น การตอน ทาบกิ่ง เสียบกิ่ง และติดตา
ช่วงเวลาระบาดระยะแตกใบอ่อนและช่อดอก
การป้องกันกำจัด
• เลือกต้นพันธุ์ที่ปลอดโรค
• มีการกำจัดเพลี้ยไก่แจ้ส้มอย่างต่อเนื่อง
• ควรปลูกไม้บังลมรอบแปลงปลูก
• มีการดูแลรักษาต้นส้มโออย่างดีและสม่ำเสมอตามคำแนะนำ ได้แก่ การให้ปุ๋ย การ ดูแลรักษาหลังติดผล การตัดแต่งและควบคุมทรงพุ่มหลังเก็บผลผลิต เป็นต้น

โรคทริสเตซ่า
สาเหตุ เชื้อไวรัส
ลักษณะอาการ ต้นส้มโอแคระแกร็น ทรุดโทรม ใบเหลืองคล้ายขาดธาตุอาหาร ใบม้วนงอ และมีอาการเส้นใบแตก ต้นส้มโอที่มีอายุมาก เมื่อลอกเปลือกบริเวณโคนต้นออกจะพบลักษณะเป็นหนามเล็กๆ ออกมาจากเนื้อไม้ เชื้อโรคแพร่ระบาดโดยเพลี้ยอ่อน และการติดไปกับกิ่งพันธุ์ เช่น การตอน ทาบกิ่ง เสียบกิ่ง และติดตา
ช่วงเวลาระบาด ระยะแตกใบอ่อนและช่อดอก
การป้องกันกำจัด
• เลือกต้นพันธุ์ที่ปลอดโรค
• มีการกำจัดเพลี้ยอ่อนอย่างต่อเนื่อง
• ควรปลูกไม้บังลมรอบแปลงปลูก
• มีการดูแลรักษาต้นส้มโออย่างดี และสม่ำเสมอตามคำแนะนำ ได้แก่ การให้ปุ๋ย การ ดูแลรักษาหลังติดผล การตัดแต่งและควบคุมทรงพุ่มหลังเก็บผลผลิต เป็นต้น

แมลงและไรศัตรูที่สำคัญและการป้องกันกำจัด

เพลี้ยไฟพริก
ลักษณะและการทำลาย
ตัวเต็มวัยมีขนาดประมาณ 2 มิลลิเมตร ปีกมี 2 คู่คล้ายขนนก ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยมีปากชนิดเขี่ยดูด ดูดกินน้ำเลี้ยงจากยอดใบอ่อน และผลอ่อน ทำให้ใบส้มโอเรียวแคบ กร้านและบิดงอในผลอ่อน ทำให้เกิดรอยแผลเป็นทางสีเทาเงินจากขั้วผล ถ้าระบาดมากรอยแผลจะขยายลงมาส่วนล่างของผล หรือทั่วทั้งผล ทำให้ผล แคระแกร็น บิดเบี้ยว
ช่วงเวลาระบาด
ระยะยอดอ่อน ใบ ดอกและผลอ่อน ระบาดมากระหว่างเดือนมกราคม-มีนาคม ในสภาพอากาศแห้งแล้ง ฝนทิ้งช่วงนาน
การป้องกันกำจัด จัดการดินให้มีความอุดมสมบูรณ์และให้น้ำสม่ำเสมอ เพื่อควบคุมให้การแตกยอดอ่อน ใบ ดอก และการติดผลพร้อมกัน สะดวกในการป้องกันกำจัด
• เก็บผลที่ถูกทำลายอย่างรุนแรงทิ้ง เพราะไม่สามารถเจริญเติบโตต่อไปได้
• ถ้าสำรวจพบปริมาณเพลี้ยไฟที่ใบอ่อนหรือดอกมากกว่า 50% บนผลอ่อนมากกว่า 10% ให้ทำการป้องกันกำจัดตามคำแนะนำ <> <> <> <> <> <> <> <> <>
แมลงและไร
ศัตรูพืช
ชีวินทรีย์/สารป้องกันกำจัดแมลงและไร
ศัตรูพืช 1/
อัตราการใช้/น้ำ 20 ลิตร
วิธีการใช้/ข้อควรระวัง
หยุดใช้สารก่อน
การเก็บเกี่ยว (วัน)
เพลี้ยไฟพริก อิมิดาโคลพริด(10%เอสแอล) 10 มิลลิลิตร - สำรวจการทำลายแปลงละ 10 ต้นๆ ละ 10 ยอด
- พ่นสารครั้งแรกเมื่อพบเพลี้ยไฟ พริกก่อนดอกบาน
- พ่นซ้ำเมื่อพบปริมาณเพลี้ยไฟพริกมากกว่า 4 ตัวต่อยอดหรือ
การทำลายผลอ่อนมากกว่า 10%
14

โฟซาโลน (35% อีซี) 60 มิลลิลิตร 14
เฟนโพรพาทริน (10% อีซี) 30 มิลลิลิตร 7
อีไทออน (50% อีซี) 20 มิลลิลิตร 21
อะบาเม็กติน (1.8% อีซี) 10 มิลลิลิตร 7

หนอนชอนใบส้ม
ลักษณะและการทำลาย ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็ก กางปีกกว้างประมาณ 8 มิลลิเมตร ลำตัวสีน้ำตาลปนเทาปีกสีเทาเงินแวววาว ขอบปีกมีขนเป็นปุยยาว มีจุดสีดำข้างละจุด วางไข่ใต้ใบ หนอนระยะแรกสีเหลืองอ่อน เจาะเข้ากัดกินชอนไช
ระหว่างผิวใบ ทำให้เกิดรอยเป็นทางสีขาวคดเคี้ยวไปมา ทั้งด้านหน้าใบและหลังใบ ใบบิดเบี้ยว สังเคราะห์แสงได้น้อย รอยแผลที่เกิดขึ้นทำให้โรคแคงเกอร์เข้าทำลายใบในเวลาต่อมา
ช่วงเวลาระบาด ระยะแตกยอดอ่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งใบอ่อนชุดที่แตกช่วงฤดูฝน ระหว่างเดือน พฤษภาคม - ตุลาคม
การป้องกันกำจัดจัดการดินให้มีความอุดมสมบูรณ์และให้น้ำสม่ำเสมอเพื่อควบคุมให้การแตกยอดอ่อน ใบ ดอก และการติดผลพร้อมกัน สะดวกในการป้องกันกำจัด ตัดใบอ่อนที่ถูกทำลายอย่างรุนแรงทิ้งและทำลาย เพื่อลดปริมาณประชากรหนอนชอนใบส้มรุ่นต่อไป ถ้าสำรวจพบใบอ่อนถูกทำลายมากกว่า 50% ให้ทำการป้องกันกำจัดตามคำแนะนำ
<> <> <> <> <> <> <> <>
แมลงและไรศัตรูพืช ชีวินทรีย์/สารป้องกันกำจัดแมลงและไรศัตรูพืช 1/ อัตราการใช้/น้ำ 20 ลิตร
วิธีการใช้/ข้อควรระวัง
หยุดใช้สารก่อน
การเก็บเกี่ยว (วัน)
หนอนชอนใบส้ม ปิโตรเลี่ยมสเปรย์ออยล์
( 83.9% อีซี )
50-100 มิลลิลิตร - เป็นการพ่นเพื่อป้องกันการเข้า
ทำลายของหนอนชอนใบส้มใช้
อัตราต่ำในระยะใบอ่อนเริ่มผลิ
และใช้อัตราสูง พ่นซ้ำห่างกัน
10 วัน เมื่อพบการระบาดมาก
กว่า 10% ของยอดสำรวจ
1
ฟลูเฟนนอกซูรอน
(5% อีซี)
6 มิลลิลิตร - สำรวจการทำลายแปลงละ
10 ต้น ๆ ละ 5 ยอด
-พ่นสารเมื่อพบใบอ่อนถูก
ทำลายมากกว่า 50%
7
อิมิดาโคลพริด
(10% เอสแอล)
8 มิลลิลิตร 14
อีไทออน (50% อีซี) 20 มิลลิลิตร 21
อะบาเม็กติน (1.8%
อีซี)
10 มิลลิลิตร 7

หนอนเจาะสมอฝ้าย
ลักษณะและการทำลาย
ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืนขนาดกลาง กางปีกกว้างประมาณ 3-4 เซนติเมตร ไข่เป็นฟองเดี่ยววางบนกลีบดอกตูม หรือก้านดอก ตัวหนอนกัดกินช่อดอก ดอกและผลอ่อน ทำให้ผลร่วง
ช่วงเวลาระบาด ระยะส้มโอออกดอก และมีผลอ่อน
การป้องกันกำจัด
ถ้าสำรวจพบการทำลายหรือพบตัวหนอน ให้ทำการป้องกันกำจัดตามคำแนะนำ <> <> <> <>
แมลงและไร
ศัตรูพืช
ชีวินทรีย์/สารป้องกัน
กำจัดแมลงและไร
ศัตรูพืช 1/
อัตราการใช้/น้ำ 20 ลิตร
วิธีการใช้/ข้อควรระวัง
หยุดใช้สารก่อน
การเก็บเกี่ยว (วัน)
หนอนเจาะสมอฝ้าย บาซิลลัส ทูริงเยนซิส* 60-80 กรัม - สำรวจการทำลายในระยะดอกตูม
ถ้าพบรอยทำลายหรือพบ
หนอนเจาะสมอฝ้ายในช่อดอก
ให้พ่นสาร 2 ครั้ง ห่างกันทุก 5 วัน
1
นิวเคลียโพฮีโดรซิสไวรัส* 30 มิลลิลิตร 1

หนอนฝีดาษส้ม
ลักษณะและการทำลาย
ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็ก กางปีกกว้างประมาณ 5 ม.ม. ปีกสีน้ำตาล ไข่เป็นฟองเดี่ยวบนเปลือกผลส้มโอ หนอนวัยแรกสีเขียว วัยต่อมาสีเขียวเข้ม และมีแถบสีแดงคาดขวางลำตัว หนอนกัดกินอยู่ในปมจนโตเต็มที่จึงเจาะปมออกมาสร้างใยหุ้มตัวเข้าดักแด้ภายนอกผล ใต้ใบ หรือกิ่งส้ม การทำลายทำให้เปลือกส้มโอมีผิวไม่เรียบเป็นปุ่มปมคล้ายรคฝีดาถึงแม้การทำลายไม่ถึงเนื้อแต่ทำให้ส้มโอราคาต่ำ
ช่วงเวลาระบาด
ระยะดอกบานและติดผลอ่อน จนผลส้มโอมีอายุประมาณ 4 เดือน
การป้องกันกำจัด จัดการดินให้มีความอุดมสมบูรณ์และให้น้ำสม่ำเสมอเพื่อควบคุมให้การแตกยอดอ่อน ใบ ดอก และการติดผลพร้อมกัน สะดวกในการป้องกันกำจัด ตัดแต่งผลอ่อนที่ถูกทำลายอย่างรุนแรงทิ้ง และทำลายเพื่อลดปริมาณประชากรหนอนฝีดาษส้มรุ่นต่อไป ถ้าสำรวจพบการทำลายบนผลอ่อน ให้ทำการป้องกันกำจัดตามคำแนะนำ <> <>
แมลงและไรศัตรูพืช ชีวินทรีย์/สารป้องกัน
กำจัดแมลงและไรศัตรูพืช 1/
อัตราการใช้/น้ำ 20 ลิตร
วิธีการใช้/ข้อควรระวัง
หยุดใช้สารก่อน
การเก็บเกี่ยว (วัน)
หนอนฝีดาษส้มไซเพอร์เมทริน/โฟซาโลน
(6.25/22.5% อีซี)
20 มิลลิลิตร- ในแหล่งที่มีการระบาดเป็น
ประจำให้พ่นสาร 2-3 ครั้ง ทุก
10-14 วัน เมื่อส้มโอติดผล
จนผลมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง
5-10 เซนติเมตร
14

หนอนเจาะผลส้ม
ลักษณะและการทำลาย
ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืนขนาดกลาง กางปีกกว้างประมาณ 2.5-2.7 เซนติเมตร ปีกคู่หน้าสีเทาปนน้ำตาล ปีกคู่หลังสีขาวนวล วางไข่เป็นกลุ่มๆ ละ 2-19 ฟอง บนผิวเปลือกส้มโอ ไข่ลักษณะแบนกลม สีขาวใสเป็นเงา หนอนระยะสีส้มอมชมพู เจาะเข้าไปกัดกินในผลส้มโอ เมื่อหนอนโตเต็มที่จะออกมาเข้าดักแด้ในดิน สังเกตการทำลายจากรอยเจาะ หรือมูลของหนอน และอาการยางไหลเยิ้มบริเวณรอยแผล ทำให้ผลเน่าและร่วง
ช่วงเวลาระบาด เมื่อผลส้มโอมีอายุประมาณ 45 วัน จนถึงระยะเก็บเกี่ยว พบการทำลายในแหล่งที่มีการระบาดประจำทุกปี
การป้องกันกำจัด สำรวจผลส้มโอเสมอ ถ้าพบการทำลายให้เก็บผลฝังหรือเผาไฟ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการระบาดต่อไปในแหล่งที่พบการระบาดเป็นประจำ ให้ทำการป้องกันกำจัดและห่อผลตามคำแนะนำ
ไรขาว
ลักษณะและการทำลาย
เป็นไรขนาดเล็กสีขาวใส ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงบนยอดและผลอ่อน ทำให้ผลส้มโอมีผิวเป็นแผลสีเทา เมื่อส่องดูด้วยเลนส์ขยายจะพบลักษณะคล้ายร่างแห ถ้าถูกทำลายทั้งผลต้องปลิดผลทิ้ง เพราะไม่สามารถเจริญเติบโตต่อไปได้ ถ้าผลถูกทำลายบางส่วน สามารถเจริญเติบโตได้ แต่จะมีเปลือกหนา เนื้อน้อย น้ำหนักเบาไม่สามารถจำหน่ายได้
ช่วงเวลาระบาด
เมื่อส้มโอติดผลจนถึงผลมีอายุ 2 เดือน พบระบาดทำความเสียหายมากในส้มที่ออกดอกและติดผลในเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์
การป้องกันกำจัด
สำรวจการทำลายบนผลส้มโอเสมอ และเก็บผลที่ถูกทำลายทิ้ง ถ้าสำรวจพบการทำลายบนผลอ่อน ให้ทำการป้องกันกำจัดตามคำแนะนำ
การใช้ชีวินทรีย์และสารป้องกันกำจัดแมลงและไรศัตรูส้มโอ <> <> <> <> <> <> <>
แมลงและไร
ศัตรูพืช
ชีวินทรีย์/สารป้องกันกำจัดแมลงและไร
ศัตรูพืช 1/
อัตราการใช้/น้ำ 20 ลิตร
วิธีการใช้/ข้อควรระวัง
หยุดใช้สารก่อน
การเก็บเกี่ยว (วัน)
ไรขาวปิโตรเลี่ยมสเปรย์ออยล์ (83.9% อีซี)100-140
มิลลิลิตร
- เป็นการพ่นเพื่อป้องกันการเข้าทำลายของไรขาวใช้อัตราต่ำในระยะผลอ่อน และใช้อัตราสูงพ่นซ้ำห่างกัน 10 วัน เมื่อพบการ
ระบาดมากกว่า 10% ของผลส้มโอ
1
อามีทราช (20% อีซี)30 มิลลิลิตร- พ่นให้ทั่วต้นทุก 5 วัน เมื่อสำรวจพบผลอ่อนถูกทำลายมากกว่า
10% ทุกครั้ง
7
โพราพาร์ไกต์ (30% ดับบลิวพี)30 กรัม14
เฮกซีไทอะซอกซ์ (1.8% อีซี)30 มิลลิลิตร-

1/
ในวงเล็บคือ เปอร์เซ็นต์สารออกฤทธิ์ และสูตรของสารป้องกันกำจัดแมลงและไรศัตรูพืช

วัชพืชที่สำคัญและการป้องกันกำจัด

ชนิดวัชพืช
วัชพืชฤดูเดียวเป็นวัชพืชที่ครบวงจรชีวิตภายในฤดูเดียว ส่วนมากขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
• ประเภทใบแคบ เช่น หญ้าตีนนก หญ้านกสีชมพู หญ้าตีนกา หญ้าขจรจบดอกเล็ก และหญ้ารังนก เป็นต้น
• ประเภทใบกว้าง เช่น สาบแร้งสาบกา กระดุมใบ ผักเบี้ยหิน ผักเบี้ยใหญ่ และผักโขม เป็นต้น
• ประเภทกก เช่น กกทราย และหนวดปลาดุก เป็นต้น
วัชพืชข้ามปี เป็นวัชพืชที่ส่วนมากขยายพันธุ์ด้วยต้น ราก เหง้า หัว และไหลได้ดีกว่าขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
• ประเภทใบแคบ เช่น หญ้าคา หญ้าชันกาด หญ้าขน หญ้าแพรก และหญ้าลูกเห็บ เป็นต้น
• ประเภทใบกว้าง เช่น สาบเสือ ผักปราบ และไมยราบเครือ เป็นต้น
• ประเภทกก เช่น แห้วหมู
การป้องกันกำจัด
• คราดเก็บเศษซาก ราก เหง้า หัว และไหลของวัชพืชออกจากแปลงหลังพรวนดินก่อนปลูกส้มโอ
• กำจัดวัชพืชรอบโคนต้นส้มโอด้วยแรงงาน
• ตัดวัชพืชระหว่างแถว และระหว่างต้นส้มโอด้วยแรงงาน หรือเครื่องจักรกล ให้สั้นประมาณ 3-5 เซนติเมตร ก่อนที่วัชพืชจะออกดอก
• คลุมโคนต้นด้วยวัสดุต่าง ๆ เช่น ใบ และซากวัชพืช
• ปลูกพืชแซมระหว่างแถว ขณะที่ต้นส้มโอยังเล็ก
• ปลูกพืชคลุมดินตระกูลถั่ว
• ในกรณีที่การกำจัดวัชพืชด้วยแรงงานและเครื่องจักรกลไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ อาจเลือกใช้สารกำจัดวัชพืชตามคำแนะนำต่อไปนี้
การใช้สารกำจัดวัชพืชในสวนส้มโอ <> <> <> <> <> <> <>

วัชพืช

สารกำจัดวัชพืช1/

อัตราการใช้ /น้ำ 20 ลิตร2/

วิธีการใช้/ข้อควรระวัง
วัชพืชฤดูเดียว พาราควอท (27.6% เอสแอล) 75-100 มิลลิลิตร - พ่นก่อนวัชพืชออกดอก
กลูโฟซิเนต-แอมโมเนียม
(15% เอสแอล)
200-250 มิลลิลิตร เฉพาะบริเวณที่มีวัชพืช
ระวังละอองสารสัมผัส
วัชพืชข้ามปี กลูโฟซิเนต-แอมโมเนียม
(15% เอสแอล)
400-500 มิลลิลิตร ต้นและใบส้มโอ
ไม่พ่นในช่วงส้มโอออก
ไกลโฟเสท(48% เอสแอล) 125-150 มิลลิลิตร ดอกจนถึงเก็บผลผลิต

1/
ในวงเล็บ คือ เปอร์เซ็นต์สารออกฤทธิ์และสูตรของสารกำจัดวัชพืช
2/ ใช้น้ำอัตรา 80 ลิตรต่อไร่

การอนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ
ตัวห้ำ ได้แก่
• แมลงช้างปีกใส
• ด้วงเต่า
• แมงมุม
• แมงมุมใยกลม
• แมงมุมตาหกเหลี่ยม
ตัวเบียนได้แก่
• แตนเบียนควาสดราสติคัส
• แตนเบียนเซอโรสปิรัส
• แตนเบียนอเจนิแอสปิส

การแปรรูป

ส้มโอแก้วสี่รส
ส่วนผสม
• เนื้อเยื่อส่วนกลางของผลส้มโอ(หรือนวม) บด 5 ถ้วย
• น้ำตาลทรายขาว 3 ถ้วย
• แบะแซ 1/2 ถ้วย
• เกลือ 1 ช้อนโต๊ะ
• กรดซิตริก 1 ช้อนโต๊ะ
• พริกขี้หนูสด 3 ผล
วิธีทำ
  1. ปอกผิวส้มโอให้หมด เหลือแต่เนื้อเยื่อส่วนกลางของส้มโอ
  2. หั่นเนื้อเยื่อส่วนกลาง หรือนวมเป็นชิ้นเล็กๆ และนำไปขยำกับน้ำเปล่า 2-3 ครั้ง
  3. นำเนื้อเยื่อส่วนกลางที่ขยำกับน้ำแล้ว ไปต้มให้เดือดแล้วตักใส่น้ำเย็น ทำ 2-3 ครั้ง จนหายขม แล้วนำไปบดละเอียด
  4. นำเนื้อเยื่อส่วนกลางหรือนวมที่บดละเอียด ผสมกับน้ำตาลทราย เกลือ และกรดซิตริก ตามอัตรากำหนดลงกะทะทองเหลือง แล้วกวนโดยใช้ความร้อนปานกลาง กวนไปเรื่อยจนเหลือง
  5. ใส่แบะแซและพริกขี้หนูที่บดละเอียด ทดลองปั้นดู ถ้าปั้นได้ก็ยกลง
  6. ปั้นเป็นลูกกลมเล็ก ๆ คลุกด้วยน้ำตาลทรายปนเกลือ ห่อด้วยกระดาษแก้ว


เปลือกส้มโอเชื่อมแห้ง
ส่วนผสม
• เปลือกส้มโอ ปอกผิวเขียวออกให้หมด 1 กิโลกรัม
• น้ำตาลทราย 1 กิโลกรัม
• เกลือ 20 กรัม
• น้ำสะอาด 5 ถ้วยตวง
• น้ำปูนใส
วิธีทำ
  1. ปอกผิวส้มโอออกให้หมด เหลือแต่เนื้อเยื่อส่วนกลาง
  2. หั่นออกเป็นชิ้นขนาดแล้วแต่ความชอบ นำไปขยำกับเกลือ โดยใช้อัตราส่วน 1 กิโลกรัม/เกลือ 20 กรัม
  3. นำเนื้อเยื่อส่วนกลาง ที่ขยำกับเกลือลงไปต้มในน้ำเดือด นานประมาณ 2-3 นาที หลังจากนั้นตักออกมาแช่ในน้ำเย็นให้หายร้อน ทำการตักขึ้นมาบีบน้ำออกให้หมด และชิมดูว่าหายขมหรือยัง ถ้าหากยังไม่หายขม ก็นำไปต้มในน้ำร้อนอีกครั้งหนึ่ง
  4. นำเอาเนื้อเยื่อส่วนกลางที่หายขมแล้ว มาแช่ในน้ำปูนใสนาน 5 นาที จากนั้นบีบน้ำปูนใสออก และล้างด้วยน้ำสะอาด
  5. คี่ยวน้ำตาล โดยใช้น้ำตาล 0.5 กิโลกรัมต่อน้ำ 5 ถ้วยตวง พอน้ำตาลละลายดีแล้วเอาส่วนเนื้อเยื่อส่วนกลางของส้มโอใส่ลงไป นานจนกว่าน้ำตาลจะซึมเข้าเนื้อเยื่อของส้มโอจนหมด จากนั้นทำการโรยด้วยน้ำตาลอีก 0.5 กก. ค่อยๆ โรยน้ำตาลจนหมด ขั้นตอนนี้ไฟไม่ควรจะแรง เพราะจะทำให้ส้มโอเชื่อมมีสีแดง หลังจากนี้ ถ้าหากมีเครื่องอบ ควรจะอบส้มโอเชื่อมให้แห้ง เพื่อป้องกันการละลายของน้ำตาล จากนั้นจึงบรรจุภาชนะเพื่อส่งขายต่อไป

มาตรฐานพืช
1. ข้อกำหนดเรื่องคุณภาพ (PROVISIONS CONCERNING QUALITY)
1.1 คุณภาพขั้นต่ำ (Minimum Requirements)
ทุกชั้นมาตรฐานส้มโอ ต้องมีคุณภาพดังต่อไปนี้ (เว้นแต่จะมีข้อกำหนดเฉพาะของแต่ละชั้น และเกณฑ์ความคลาดเคลื่อนที่ยอมให้มีได้ตามที่ระบุไว้)

  • เป็นผลส้มโอสดทั้งผล และมีขั้วผลความยาวไม่เกินความสูงของไหล่ผล

  • เนื้อแน่น

  • มีรูปทรง สี และรสชาติปกติ

  • ไม่มีรอยช้ำ หรือตำหนิที่เห็นเด่นชัด และไม่เน่าเสีย

  • ปลอดจากศัตรูพืชและความเสียหายอันต่อเนื่องมาจากศัตรูพืช โดยการตรวจสอบด้วยสายตา

  • ปลอดจากความเสียหายเนื่องจากอุณหภูมิต่ำ

  • ปลอดจากความชื้นที่ผิดปกติจากภายนอกทั้งนี้ไม่รวมถึงหยดน้ำ ที่เกิดหลังการนำออกจากห้องเย็น

  • ไม่มีกลิ่นและรสชาติผิดปกติจากสิ่งปนเปื้อนภายนอก

    ผลส้มโอต้องแก่ เปลือกผลมีสีตรงตามพันธุ์ ไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของพื้นที่ผิวทั้งหมด และสภาพของผลอยู่ในสภาพที่ยอมรับได้เมื่อถึงปลายทาง มีปริมาณความหวานไม่น้อยกว่า 8 องศาบริกซ์
    1.2 การแบ่งชั้นคุณภาพ (Classification) แบ่งเป็น 3 ชั้นคุณภาพ ดังนี้
    1.2.1 ชั้นพิเศษ (Extra Class)
    มีคุณภาพดีที่สุด ตรงตามพันธุ์ ผลต้องปลอดจากตำหนิ ยกเว้น ตำหนิผิวเผินเล็กน้อย โดยไม่มีผลต่อรูปลักษณ์ทั่วไปของผลิตผล คุณภาพและคุณภาพการเก็บรักษา รวมทั้งการจัดเรียงในภาชนะบรรจุ
    1.2.2 ชั้นหนึ่ง (Class I)
    มีคุณภาพดี ตรงตามพันธุ์ มีตำหนิได้เล็กน้อยด้านรูปร่าง สี และผิว
    โดยไม่มีผลต่อรูปลักษณ์ คุณภาพ และคุณภาพการเก็บรักษา รวมทั้งการจัดเรียงสินค้าในภาชนะ
    บรรจุ ตำหนิผิวโดยรวมต่อผลต้องมีพื้นที่ไม่เกินร้อยละ 10 ของพื้นที่ผิวทั้งหมด โดยไม่มีผลกระทบ
    ต่อคุณภาพเนื้อส้มโอ
    1.2.3 ชั้นสอง (Class II)
    ชั้นนี้รวมผลส้มโอที่ไม่เข้าขั้นชั้นที่สูงกว่า แต่มีคุณภาพขั้นต่ำ ดังนี้
    1.1 มีตำหนิได้เล็กน้อยด้านรูปร่าง สีและผิว โดยยังคงคุณภาพและคุณภาพการเก็บรักษา รวมทั้งการจัดเรียงในภาชนะบรรจุ ตำหนิผิวโดยรวมต่อผลต้องมีพื้นที่ไม่เกินร้อยละ 15 ของพื้นที่ผิวทั้งหมด โดยไม่มีผลกระทบต่อคุณภาพเนื้อส้มโอ
    2. ข้อกำหนดเรื่องขนาด (PROVISIONS CONCERNING SIZING)
    ขนาดของผลจะพิจารณาจากน้ำหนัก และเส้นผ่าศูนย์กลาง ดังนี้ <> <> <> <> <> <> <>
    ขนาด น้ำหนัก (กรัม) เส้นผ่าศูนย์กลาง (ซม.)
    1 > 1,700 15.6-17.0
    2 1,501-1,700 14.8-16.
    3 1,301-1,500 14.0-15.4
    4 1,101-1,300 13.2-14.6
    5 901-1,100 12.3-13.8
    6 700-900 11.6-12.9

    3. ข้อกำหนดเกณฑ์ความคลาดเคลื่อนระดับคุณภาพที่ได้รับ (PROVISIONS CONCERNING TOLERANCES)
    3.1 เกณฑ์ความคลาดเคลื่อนเรื่องคุณภาพ (Quality Tolerances)
    3.1.1 ชั้นพิเศษ
    ยอมให้มีผลส้มโอที่คุณภาพไม่เป็นไปตามข้อกำหนดของชั้นพิเศษ แต่เป็นไปตามคุณภาพของชั้นหนึ่ง ปนมาได้ไม่เกินร้อยละ 5 ของจำนวนผลทั้งหมด หรือน้ำหนักรวม
    3.1.2 ชั้นหนึ่ง
    ยอมให้มีผลส้มโอที่คุณภาพไม่เป็นไปตามข้อกำหนด ของชั้นหนึ่ง แต่เป็นไปตามคุณภาพของชั้นสองหรือยกเว้นว่าคุณภาพยังอยู่ในเกณฑ์ความคลาดเคลื่อนของชั้นสองปนมาได้ไม่เกินร้อยละ 10 ของจำนวนผลทั้งหมด หรือน้ำหนักรวม
    3.1.3 ชั้นสอง
    ยอมให้มีผลส้มโอที่คุณภาพไม่เป็นไปตามข้อกำหนดของชั้นสอง หรือไม่ได้คุณภาพขั้นต่ำ ปนมาได้ไม่เกินร้อยละ 10 ของจำนวนผลทั้งหมด หรือน้ำหนักรวม โดยไม่มีผลเน่าเสีย
    3.2 เกณฑ์ความคลาดเคลื่อนเรื่องขนาด (Size Tolerances)
    ยอมให้ส้มโอทุกชั้นมีขนาดที่ใหญ่ หรือเล็กกว่าในชั้นถัดไปหนึ่งชั้น ปนมาไม่เกินร้อยละ 10 ของจำนวนผลทั้งหมด หรือน้ำหนักรวม
    4. ข้อกำหนดเรื่องการจัดเรียง (PROVISIONS CONCERNING PRESENTATION)
    4.1 ความสม่ำเสมอ (Uniformity)
    ส้มโอที่บรรจุในแต่ละภาชนะบรรจุต้องสม่ำเสมอมาจากแหล่งเดียว และเป็นพันธุ์มีคุณภาพ ขนาดและสีเดียวกัน ส่วนของผลที่มองเห็นในภาชนะบรรจุ ต้องเป็นตัวแทนของทั้งหมด
    4.2 การบรรจุหีบห่อ (Packaging)
    ต้องบรรจุในภาชนะบรรจุที่เก็บรักษาส้มโอได้เป็นอย่างดี วัสดุที่ใช้ในการบรรจุต้องสะอาด และมีคุณภาพ เพื่อป้องกันความเสียหายอันจะมีผลต่อส้มโอการปิดฉลากต้องใช้หมึกพิมพ์หรือกาวที่ไร้พิษ
    4.2.1 รายละเอียดบรรจุภัณฑ์ (Description of Containers)
    บรรจุภัณฑ์จะต้องมีคุณภาพ ถูกอนามัย ถ่ายเทอากาศได้ และมีคุณสมบัติทนทานต่อการปฏิบัติการขนส่งและรักษาผลส้มโอได้ บรรจุภัณฑ์ ต้องปราศจากกลิ่น และวัตถุแปลกปลอม
    5. เครื่องหมายหรือฉลาก (MARKING OR LABELLING)
    5.1 ประเภทของผลิตผล (Nature of the Produce)
    ให้ปิดฉลากคำว่า "ส้มโอ" และชื่อพันธุ์
    5.2 บรรจุภัณฑ์สำหรับขายส่ง (Non-Retail Containers)
    ต้องประกอบด้วยข้อความดัง ต่อไปนี้ (จะระบุในเอกสารกำกับสินค้า หรือฉลากติดกับภาชนะบรรจุก็ได้)
    5.2.1 ข้อมูลผู้ขายส่ง
    ต้องระบุชื่อที่อยู่ของผู้ขายส่ง ผู้บรรจุ และจะระบุหมายเลขรหัสสินค้าก็ได้
    5.2.2 ประเภทของผลิตผล
    ให้ปิดฉลากคำว่า "ส้มโอ" และชื่อพันธุ์
    5.2.3 ข้อมูลแหล่งผลิต
    ต้องระบุประเทศไทย และจังหวัดแหล่งผลิตในประเทศ
    5.2.4 ข้อมูลเชิงพาณิชย์
    - ชั้นคุณภาพ
    - ขนาด
    - น้ำหนัก
    5.2.5 เครื่องหมายรับรองการตรวจสอบ
    (ตามความต้องการของคู่ค้า)
    6. สุขอนามัย (HYGIENE)
    ผลิตผลในมาตรฐานนี้ให้ดำเนินการไปตามหลักการทั่วไปของการปฏิบัติที่ถูกต้องทางการเกษตร (Good Agricultural Practice : GAP)

  • ไม่มีความคิดเห็น:

    แสดงความคิดเห็น