วันเสาร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ขนมไทยสมัยก่อน


เพื่อนหลายคน ๆ ในที่นี้ หากให้นึกถึงขนมไทย ก็คงนึกถึงขนทประเภท ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง เป็นอันดับแรก ๆ เพราะว่าเป็นขนมไทยสมัยโบราณ อันเกิดจากความปราณีตในรูปลักษณ์และรสชาติอันเลอเลิศ แสดงถึงความเฉลียวฉลาดในการประดิดประดอยของเรา  ทำให้เราเชื่อกันว่าขนมประเภท ทอง นั้นเป็นฝีมือของคนไทยสมัยโบราณ
          แต่จากหลักฐานที่ปรากฏในประวัติศาสตร์ ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แห่งกรุงศรีอยุธยา เป็นฝีมือของท้าวทองกีบม้า หรือภรรยาของ คอนแสตนติน ฟอลคอน (เจ้าพระยาวิชาเยนทร์) ซึ่งท้าวทองกีบม้า (บรรดาศักดิ์ที่ได้รับ)หรือที่เรียกอีกนามว่า มารี กีมาร์ สาวลูกครึ่งญี่ปุ่นโปรตุเกส เป็นผู้คิดค้นสูตรขนมดังกล่าว
           ขนมไทยแต่โบราณจริง ๆ มีส่วนประกอบใหญ่หลักก็คือ แป้ง ที่ทำจากข้าวเจ้าหรือข้าวเหนียว น้ำตาลทำจากน้ำตาลปึก(ปิ๊ป) และมะพร้าวที่เป็นวัตถุดิบที่ให้ความหวานแบบธรรมชาติ ซึ่งหาวัตถุดิบเหล่านี้ได้แต่ละท้องถิ่นทั่วประเทศ นอกจากนี้ก็เพิ่มกลิ่นและสีสัน จากส่วนประกอบอื่น ๆ ที่หาได้ตามพื้นบ้าน เช่นกลิ่มหอมของดอกไม้ ใบไม้และพืชตามธรรมชาติ
        แต่เมื่อมีการติดต่อกับชาวต่างประเทศ โดยเฉพาะชาวยุโรป  จากการค้าขาย หรือเหตุผลทางการเมืองการปกครอง วัฒนธรรมการกินของคนไทยก็เริ่มเปลี่ยนแปลง เช่น รู้จักการดื่มนม กาแฟ การใช้แป้งสาลี และน้ำตาลทรายที่ใช้เป็นส่วนประกอบหลักในการทำขนม
        จากหลักฐานจดหมายเหตุ รัชสมัยพระนารายณ์มหาราช มีความน่าเป็นไปได้ว่า ขนมทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง สังขยา หม้อแกง  เกิดขึ้นและมาจากการคิดค้นประดิษฐ์ ตามเชื้อชาติของท้าวทองกีบม้า นั่นคือ ชาวโปรตุเกส โดยส่วนประกอบหลักสำคัญในการทำขนมก็หาจากวัตถุดิบในประเทศไทย เช่น  แป้ง ไข่ไก่ น้ำตาลทราย  เพียงแต่นางดัดแปลงเพิ่มเติมให้เข้ากับรสนิยมแบบไทย ๆ ทั้งรสชาติและรูปลักษณ์
       ในหนังสือฟื้นไมตรีไทย-โปรตุเกส ของศรวนีย์ จินายน บอกว่าลักษณะอาหารโปรตุเกสที่เชื่อกันว่าท้าวทองกีบม้าเข้ามาเผยแพร่ในไทยมีอยู่เพียง 2 อย่าง คือ ทองหยิบ (Biretta) ฝอยทอง( Fios do Ovos) แต่จากรูปลักษณ์ที่งดงาม นักประวัติศาสตร์หลายท่านก็ลงความเห็นว่า  ขนมเหล่านี้เกิดจากการคิดประดิดประดอยของคนไทย  สันนิษฐานจากเทคนิคการใช้นิ้วชี้ หัวแม่มือ และนิ้วกลาง  กวาดแป้งที่ปากถ้วย แล้วสะบัดลงกระทะที่มีน้ำเชื่อม การจะไดขนมหวานที่มีรูปเรียวรีเหมือนหยาดน้ำนั้นต้องอาศัยความชำนาญของผู้ทำ
      นอกจากนี้ยังมีขนมอื่น ๆ เช่น ขนมสังขยา ขนมบ้าบิ่น  ขนมหม้อแกง ที่มีหลักฐานว่ามาจากส่วนประกอบตามแบบขนมหวานโปรตเกส แต่คนไทยก็ได้นำมาดัดแปลงเสียใหม่ เช่น ขนมหม้อแกงในปัจจุบัน เชื่อกันว่ามาจากขนมชื่อไพเราะ กุมภมาศ ซึ่งท้าวทองกีบม้าเป็นผู้ประดิษฐ์เพื่อถวายเป็นของเสวยแด่พระเจ้ากรุงสยาม(พระนารายณ์มหาราช) โดยใส่ในภาชนะอันมีค่าตามแบบธรรมเนียมกรีก-โรม เช่น หม้อทองเหลือง ทองคำ โดยนำไปผิงไฟให้สุกทั่วกันส่งกลิ่นหอม  ขนมกุมภมาศ แปลตามศัพท์ตรงตัวว่า ขนมหม้อแกง  เมื่อขนมชนิดนี้นิยมแพร่หลายไปถึงคนธรรมดา จึงเปลี่ยนภาชนะเป็นหม้อแกงธรรมดา จึงแรกว่า ขนมหม้อแกง แม้ปัจจุบันขนมหม้อแกงจะใช่ภาชนะเป็นถาดแล้วก็ตาม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น