วันเสาร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2554

วรรณของสี

ทฤษฎีสี
 
1. วงจรสี




2. วรรณะของสี    คือ  สีที่ให้ความรู้สึก ร้อน เย็น  ดังนั้นเราสามารถ
แยกสีออกเป็น  2  วรรณะ

     2.1  วรรณะสีอุ่น คือสีที่ให้ความรู้สึกร้อน การต่อสู้    ดิ้นรน ความมีชีวิต
ความรุ่งโรจน์ โอ่อ่า ความรัก ความรุนแรง เวลากลางวัน ได้แก่
ซึ่ง จะเป็น ส่วนของ สีแดง ส้ม เหลือง น้ำตาล เป็นต้น




     2.2  วรรณะสีเย็น  คือสีที่ให้ความรู้สึกสงบ  สดชื่น    สันติ ความเยือกเย็น
ความคิดฝัน เวลากลางคืน ได้แก่ ซึ่งจะเป็นส่วนของสี น้ำเงิน เขียว ฟ้า เป็นต้น


     3. การหาค่าสีเดียว คือการนำเอาสีใดสีหนึ่ง มาหาค่าต่างกันให้เป็นขั้นหลายสเต็ป

ในที่นี้จะแสดงหาค่าต่างให้ เกิดขึ้นเพียง 5 ขั้น ต่อสี 1 สี วิธีการ ถ้าเป็นสีน้ำ

ก็ใช้น้ำผสมลดค่าสีให้อ่อนลง ทีละขั้น จากแก่มาอ่อน ถ้าเป็นสีโปสเตอร์

ก็ใช้สีขาวมาผสมกัน


  

     4. สีเอกรงค์ คือ สีที่แสดงเด่นออกมาเพียงสีเดียว แต่ที่จริงแล้วสี
ทั้งสองชนิดมีวิธีการที่แตกต่างกันออกไป สีส่วนรวมนั้นสีที่ใช้อาจเป็นสีสด
หรือสีที่ลดค่าลงไปแล้ว  แต่สีเอกรงค์ต้องใช้สีใดสีหนึ่งเป็นสีสดยืนพื้นเพียง
สีเดียว  
แล้วลดค่า น้ำหนักอ่อนแก่ ในระยะต่างๆ
     หลักในการใช้ เมื่อวางสีที่ต้องการเป็นจุดเด่นของภาพแล้ว สีที่เป็น
ส่วนประกอบรอบๆ ทุกสี จะต้องลดความสดใสลง อาจจะใช้ได้ 3 - 6 สี
ซึ่งเรียงกันในวงจรสี
วรรณะเดียวกัน






    
    5. การฆ่าสี คือการเปลี่ยนแปลงค่าของสีให้เป็นลักษณะหนึ่ง

    หยุดความสดใสของสี คล้ายกับการหาค่าของสี แต่แตกต่างที่

    ใช้สี 2 สี มาค่ารวมกัน

     6. สีตรงกันข้ามหรือสีตัดกัน ในวงจรสีธรรมชาตินั่นเอง

เมื่อเราอยากรู้ว่าสี 2 สี เป็นคู่กันหรือเปล่าให้เอามาผสมกันกันดู

ถ้าผลลัพธ์เป็นสีกลาง ก็แสดงว่าเป็นสีตรงกันข้ามหรือสีตัดกัน

วิธีการใช้สีตรงกันข้าม หรือ สีตัดกันมีดังนี้

  1. ปริมาณของสีที่ตัดกันกับวรรณะของสีทั้งหมดในภาพต้องอย่าเกิน
10% ของเนื้อที่ในภาพเขียน

  2.
ในลักษณะการนำไปใช้ ในทางประยุกต์ศิลป์หรือเชิงพานิชควร
ใช้ตามหลักเกณ์ดังนี้

    - การใช้สีตรงข้ามหรือสีตัดกัน ต้องใช้สีใดสีหนึ่งจำนวน 80%
    อีกฝ่ายหนึ่ง ต้องเป็น 20% จึงจะมีคุณค่าทางศิลปะ


    -
หากจำเป็นต้องใช้สีคู่ใดคู่หนึ่งปริมาณเท่าๆกัน ควรต้องลดค่าของคู่สีลง

    -
หากภาพเป็นลายเล็กๆ เช่น ภาพที่เต็มไปด้วยต้นไม้ใบไม้เล็ก
    การใช้สีตัดกันอย่างสดๆ สลับกัน ผลคือจะผสมผสานกันเอง

    -
หากจำเป็นต้องใช้สีตัดกันในภาพใหญ่ๆหรือพื้นที่ภาพมากๆและสีคู่นั้น
    ติดกัน ควรใช้เส้นดำมาคั่นหรือตัดเส้นด้วยสีดำ  เพื่อลดความรุนแรง
    ของภาพ  และคู่สีได้ดังตัวอย่าง

               


              

              
 

 7. สีใกล้เคียง คือ เกิดจากแนวสี 3 ด้าน ของวงจรสี

โดยมีแม่สีเป็นหลัก มีทั้งหมด 4 แนวทางด้วยกัน คือ







   1. สีใกล้เคียง โดยมีแม่สีเป็นหลักหัวท้าย

   2. สีใกล้เคียงที่มีแม่สีเป็นแกนกลาง และมีการเพิ่ม

   ออกไป 2 ข้าง

   3. สีใกล้เคียงเว้นสเต็ป

   4. สีใกล้เคียงที่มีแม่สีเป็นแกนกลาง โดยมีสีใก้เคียง

  เว้นสเต็ปเพิ่มออกไปทั้ง  2 ข้าง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น