วันเสาร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2554

ดอกพุทธรักษา

ดอกพุทธรักษา

ชื่อสามัญ                                Canna, Indian shoot
ชื่อวิทยาศาสตร์                         Canna generalis
ตระกูล                                   CANNACEAE
ถิ่นกำเนิด                                หมู่เกาะฮาวาย
 
ลักษณะทั่วไป
พุทธรักษาเป็นพรรณไม้ล้มลุก เนื้ออ่อนอวบน้ำ ลำต้นมีความสูงประมาณ 1-2 เมตร มีลำต้นอยู่ใต้ดินเรียกว่า
เหง้ามีการเจริญเติบโตโดยแตกหน่อเป็นกอคล้ายกับกล้วยลักษณะหน่อที่เจริญเป็นต้นเหนือพื้นดินนั้นมีลักษณะกลมแบนสีเขียว
ขนาดลำต้นโตประมาณ 2-4 เซนติเมตรใบมีขนาดใหญ่สีเขียวโคนใบและปลายใบรีแหลมขอบใบเรียบกลางใบเป็นเส้นนูนเห็นได้ชัดโคนใบมี
ก้านใบซึ้งยาวเป็นกาบใบหุ้มลำต้นซ้อนสลับกัน ขนาดใบกว้างประมาณ 10-15 เซนติเมตร ยาวประมาณ 25-35 เซนติเมตร
ออกดอกเป็นช่อตรงส่วนยอดของลำต้น ช่อดอกยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร ประกอบด้วยดอก 8-10 ดอก และมีกลีบดอกบางนิ่ม
ขนาดของดอกและสีสรรแตกต่างกันไปตามชนิดพันธ
 
การเป็นมงคล
คนโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นพุทธรักษาไว้ประจำบ้านจะช่วยคุ้มครอง ป้องกันอันตรายแก่บ้านและผู้อาศัยได้
เพราะพุทธรักษาเป็นพรรณไม้ที่คนโบราณเชื่อว่า มีพระเจ้าคุ้มครองรักษาให้มีความสงบสุข คือเป็นไม้มงคลนั่นเอง
 
ตำแหน่งที่ปลูกและผู้ปลูก
เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัย ควรปลูกต้นพุทธรักษาไว้ทางทิศตะวันตก ผู้ปลูกควรปลูกในวันพุธ
เพราะโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เอาประโยชน์ทั่วไปทางดอกให้ปลูกในวันพุธ
 
การปลูกและการดูแลรักษา
ควรเตรียมแง่งของพุทธรักษาในช่วงต้นฤดูฝน แง่งบางครั้งจะถูกเรียกว่า เหง้าหรือหัวพันธ์ซึ่งทั้งสองคำไม่ถูกต้องตามเหลัก
พฤกษศาสตร์ ควรเลือก แง่งที่อวบ ผิวเต่งตึงไม่เหี่ยวย่น ซึ่งอาจเป็นไปได้เนื่องจากแง่งนั้นถูกขุดเพื่อขยายพันธ์ก่อนระยะที่พืชอยู่ในระยะฟักตัว
ผู้ที่จำหน่ายหัวแง่งอาจจะรีบร้อนหรือต้องการจำหน่ายก่อนแหล่งอื่นๆ แต่การปฏิบัติแบบนี้ทำให้แง่งของพุทธรักษาแห้งแสดงอาการขาดน้ำ
หรือที่เรียกว่า dehydrated ถึงแม้ว่าแง่งส่วนน้อยจะสามารถเจริญพันธ์ต่อไปได้แต่ก็ต้องใช้เวลาค่อนข้างนาน ส่วนใหญ่แล้วจะไม่รอด
โดยเฉพาะการสั่งซื้อทางไปรษณีย์ หรือทางอินเตอร์เนท e-commerce ความเสี่ยงค่อนข้างสูงเพราะการขนส่งและระยะเวลาอาจ
ทำให้แง่งพันธ์เสียหายวิธีที่ช่วยถนอมหัวแง่งในช่วงการเดินทางหรือระยะการเตรียมแปลงปลูกค่อนข้างนานหลังที่แง่งพันธ์ได้รับแล้ว
ควรเก็บมันในอุณหภูมิที่ต่ำแต่ไม่เกินจุดเยือกเข็ง หาที่ปิดแง่งเพื่อลดการคลายน้ำในช่วงการเก็บ อุณหภูมิที่เหมาะเพื่อชะลอ การงอก
ไม่ควรสูงเกินกว่า ๑๐ องศาเซลเซียส ในทางกลับกันถ้าแง่งพันธ์เกิดอาการคลายน้ำในช่วงการเก็บอาจจะใช้ผ้าชุบน้ำคลุมภาชนะ
ที่เก็บหรือคลุมด้วยขลุยมะพร้าวเปียกชื้นก่อนจะนำแง่งพันธ์ลงปลูกในแปลงเพาะถึงแม้ว่าผู้ปลูกบางท่านอาจจะนำแง่งพันธ์
ที่อยู่ในระยะฟักตัวลงปลูกในแปลงดอกแต่ส่วนใหญ่แล้วจะนำมันเพาะในโรงเพาะชำก่อนซึ่งจะได้ผลดีกว่า
 
การดูแล
แสง                        ชอบแสงรำไร หรือแสงแดดจัดกลางแจ้ง

น้ำ                         ต้องการปริมาณน้ำปานกลาง ควรให้น้ำ 3-5 วัน/ ครั้ง

ดิน                         ชอบดินร่วนซุย ดินร่วนปนทราย มีความชุ่มชื้น

ปุ๋ย                         ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 0.5-1 กิโลกรัม/กอ ควรใส่ 4-6 ครั้ง/ปี

การขยายพันธ์           นิยมขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อ เพาะเมล็ด

โรค                       ไม่ค่อยมีโรคที่เป็นปัญหา ส่วนแมลงที่รบกวน ได้แก่ พวกเพลี้ยแป้งและเพลี้ยหอย ซึ่งจะพบมากในหน้าร้อน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น